วันอาทิตย์, กรกฎาคม 19, 2558

เปิดวิกิลี้คแฉทัพบก-ตำรวจ จ้างแฮ็คเกอร์ดักฟังมือถือ แอบดูคอมพิวเตอร์ชาวไทย

หน้าโฆษณาสรรพคุณของบริษิทแฮ็คกิ้งทีม อ้างว่ารัฐบาลสามารถทะลวงล้วงข้อมูลประชาชนได้ครั้งละหลายๆ แสน
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ตีพิมพ์บทความอ้างการเปิดโปงอีเมลจากแฮ็คเกอร์รับจ้างในอิตาลี มีลูกค้าไทยรายใหญ่คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองทัพบก ว่าจ้างให้ทำการดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์มือถือและการใช้คอมพิวเตอร์ของประชาชนไทย ในปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ ตามลำดับ

รายงานวิกิลี้คดังกล่าวเปิดโปงเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม นี้ เผยว่าบริษัทผู้ผลิตจำหน่ายแมลแวร์ หรือโปรแกรมทะลวงสอดแนมระบบคอมพิวเตอร์ในประเทศอิตาลีชื่อ แฮ็คกิ้งทีม ระบุไว้ในบัญชีลูกค้าของตนว่ามีทางการตำรวจและกองทัพบกไทยเป็นลูกค้า ซื้อโปรแกรมแมลแวร์ชื่อ ดาวินชี และ กาลิเลโอ ไปในปี ค.ศ. ๒๐๑๓ และ ๒๐๑๔ ในราคา ๒๘๖,๔๘๒ ปอนด์ (สเตอริง) และ ๓๖๐,๐๐๐ ปอนด์ ตามลำดับ

รายงานแฉด้วยว่าการติดต่อซื้อโปรแกรมแมลแวร์จากบริษัทแฮ็คกิ้งทีมนี้เริ่มมาตั้งแต่ตอนปลายปี ๒๕๕๕ โดยทางกองทัพบกสนใจโปรแกรมสอดแนมดาวินชี จึงได้มีการติอต่อผ่านตัวแทนในไทยสองสามราย ได้แก่ บริษัทไน้ซ์ ของอิสรเอล กับบริษัทเพลซซิ่งแวลิวและเน็ตเซอพลัสของไทย มีการทดสอบสรรพคุณสินค้ากันตอนต้นปี ๒๕๕๗ และตกลงทัพบกซื้อโปรแกรมกาลิเลโอ ส่วน สนง.ตำรวจแห่งชาติซื้อโปรแกรมดาวินชี

การซื้อโปรแกรมแฮ็คมือถือและคอมพิวเตอร์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. โดยมีพันเอกกนิษฐ์ ชาญปรีชญา เป็นผู้ดูแลโครงการ ซึ่งการณ์กลับปรากฏว่าในวันที่ ๕ กรกฎาคมที่ผ่านมา ฐานข้อมูลของบริษัทแฮ็คกิ้งทีมเองก็ถูกทะลวง บริษัทแจ้งแก่กองทัพบกว่าจะเปลี่ยนโปรแกรมกาลิเลโอให้ใหม่ในเร็วๆ นี้

นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการที่ทหาร-ตำรวจไทยใช้โปรแกรมแฮ็คข้อมูลส่วนตัวของประชาชนว่า “ละเมิดหลักประชาธิปไตย ทางการไม่มีสิทธิใดๆ ที่จะก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวของบุคคล” การกระทำเช่นนี้เป็นการ “ใช้อำนาจในทางที่ผิด”

โดยปกติแล้วรัฐบาลสามารถสอดแนมล้วงความลับของประชาชนได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากศาล แต่ในร่างกกำหมายใหม่ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังผลักดัน ถ้าผ่านออกมาใช้บังคับจะทำให้เจ้าพนักงานสามารถใช้อำนาจพิเศษล้วงข้อมูลส่วนตัวของบุคคลได้ง่ายๆ

“ประเทศไทยจำต้องระมัดระวังต่อการสุ่มเสี่ยงที่จะละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ภายใต้ข้ออ้างจำบังว่ากระทำเพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงแห่งชาติ” นพ. นิรันดร์กล่าว “จำเป็นต้องมีการแยกแยะให้ชัดแจ้งจากกัน ระหว่างความมั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงของรัฐบาล”


(บทความเต็มภาษาอังกฤษที่ http://www.bangkokpost.com/news/general/626964/privacy-fears-over-hacking-revelations