วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 22, 2559

ภายใต้กระแสลมตะวันตกกระพือหนักใต้ปีกทักษิณและยิ่งลักษณ์ในขณะนี้ = ทักษิณพร้อม“ชักธงรบ” หรือ "พร้อมเกี้ยเซี้ยะ" (aka ไม่สู้)?




สัญญานชัดเจนจาก ทักษิณ ชินวัตร ปรากฏออกมาในสื่อตะวันตกเมื่อวันอาทิตย์ (๒๑ กุมภาพันธ์) พร้อมกันสองฉบับ

ทำให้คนเสื้อแดงจำนวนมากถึงกับรำพึงออกมาว่า “หมดเวลารอแล้วหรือ”

คำให้สัมภาษณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรีต่อหนังสือพิมพ์ Financial Times และ The Wall Street Journal ทำให้นักการเมืองพรรคคู่กัดประกาศสวนทันควัน “อย่าจับเอารัฐธรรมนูญมาเป็นเชลย”



คำของนายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ที่ น.ส.พ.แนวหน้า นำมาเสนอเป็นข่าวว่า “ขอเรียกร้องว่า หยุดสร้างความกลัว หยุดสร้างความเกลียดชัง หยุดสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งให้คนในประเทศ รัฐธรรมนูญนี้ไม่ใช่ฉบับที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แต่มีมาตรการปราบโกงที่เข้มงวดกว่าเดิม ผมยอมรับได้”

แม้ที่จริงสิ่งที่ทักษิณกล่าวผ่านสื่อตะวันตกสองแห่งนั้น มีนัยยะมากกว่าการจะออกรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและกดขี่กีดกันนักการเมืองจากการเลือกตั้ง มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ยิ่งกว่าฉบับใดๆ ที่เคยมีมา

กับไฟแน้นเชียลไทมส์ ทักษิณบอกว่า “พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีควรเปิดการเจรจากับกลุ่มการเมืองทุกๆกลุ่มในประเทศเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าที่เป็นที่ยอมรับของทุกๆคน...

โปรดอย่าได้ระแวงกันเลย ไม่ต้องกลัวหรอกว่าผมจะกลับไปมองหาหนทางแก้แค้น ผมไม่ได้มองหาเงื่อนไขใดๆ ที่จะช่วยตัวผมเอง แต่ถ้าหากคุณมีเจตนาดีจริงๆ ที่จะขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ถ้าหากคุณต้องการคืนศักดิ์ศรีให้กับประชาชนไทยแล้วละก็ ก็มาพูดจากัน”

(http://www.matichon.co.th/news/45926)

เนื้อถ้อยคำต่อคำในประเด็นที่ทักษิณเสนอตัวพูดจากับผู้นำทหารไทยครั้งนี้ เราเก็บมาจากหน้าเฟชบุ๊คของ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระที่ปัจจุบันทำงานอยู่ในสหราขชอาณาจักร ซึ่งเอ่ยถึงเรื่องนี้ว่า

“น่าจับตาการส่งสัญญานจากคุณทักษิณ...เปิดเกมส์ เจรจา คสช.” ดังนี้

“I offer any kind of discussion or talk. I’m ready.” ("ผมเสนอให้สนทนาหรือคุยแบบไหนก็ได้ ผมพร้อม")

“I don’t set any kind of conditions for myself. I just want to see the country moving forward, to return democracy to the people.” ("ผมไม่ตั้งเงื่อนไขใด ๆ เกี่ยวกับตัวเอง แต่ต้องการให้ประเทศเดินหน้า และคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชน")

ไม่เพียงเท่านั้น ในคำให้สัมภาษณ์ของทักษิณต่อเดอะวอลสตรีทเจอร์นอล ตีพิมพ์วันเดียวกัน เป็นการวิพากษ์การบริหารของ คสช. โดยตรง แม้จะใช้ท่วงทีอลุ่มอล่วยอยู่่ไม่น้อย

“I don’t [say] that this junta will not last long. But any regime that [does] not respect the people will not last long.”
("ผมไม่ได้บอกว่า คสช. จะอยู่ได้ไม่นาน แต่ระบอบใดที่ไม่เคารพประชาชนก็จะอยู่ได้ไม่นาน")

“It’s a charade to show the world that Thailand is returning to democracy” ("มันคือการเล่นละครตบตาโลกว่าประเทศไทยกำลังกลับสู่ประชาธิปไตย")

“...it would be like Myanmar before its political reforms. There would be a prime minister, but the real power would be in some politburo above him and the economy would suffer. No other government would want to touch Thailand.”

(ประเทศไทยก็จะเป็นเหมือนพม่าก่อนปฏิรูปการเมือง จะมีนายกฯ แต่อำนาจแท้จริงจะอยู่กับกลุ่มโปลิตบูโรที่อยู่เหนือนายกฯ และเศรษฐกิจจะย่ำแย่ จะไม่มีรัฐบาลไหนที่อยากยุ่งเกี่ยวกับประเทศไทย)

(https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10204654153827934&set=a.1074035705291.11939.1658153850&type=3&theater)

อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ที่แม้จะถูกรัฐประหารมานานสิบปี ชื่อของเขายังฝังลึกอยู่ในวิถีความเป็นไปทุกภาคส่วนของประเทศไทย

‘ระบอบทักษิณ’ ยังคงเป็นนามธรรมที่เหล่าชนชั้นนำไทย ไม่ว่าจะในฝ่ายตุลาการ-ราชสำนักหรือฝ่ายทหารยังประหวั่นพรั่นพรึง ทั้งที่จะหาใครให้คำจำกัดความในบุคคลิกแท้จริงได้ตรงกับความน่าสะพรึงกลัวที่ถูกวาดภาพเอาไว้ได้

‘ทักษิโณมิคส์’ ยังคงเป็นรูปธรรมทางนโยบายแบบประชานิยมที่ถูกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของ ‘ทักษิณ’ บิดเบือนให้เหมือนอสุรกายเลวร้ายด้วยคำว่า ‘ทุนสามานย์’

ครั้นเมื่อรัฐบาลคณะรัฐประหารนำเอาแนวนโยบายหลายอย่างแบบทักษิณมาใช้ โดยเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า ‘ประชารัฐ’ ก็ไม่มีใครที่เคยจาบจ้วงกล้าออกมาวิจารณ์อีกเลย ทั้งที่น่าจะวิพากษ์เนื่องจากเป็นการนำแนวนโยบายมาใช้โดยไม่รู้จัก ‘ปรับ’ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในกระแส ‘โลกาภิวัฒน์’ ซึ่งคล้อยหลังมาเป็นทศวรรษแล้ว

และก็มี ‘เครือข่ายชินวัตร’ ข้อเท็จจริงทางกายภาพสำหรับประเทศไทย หนึ่งในหลายๆ เครือข่ายอันเป็นองค์ประกอบสำคัญทั้งทางด้านธุรกิจ การเมือง และการปฏิสัมพัทธ์ภายในสังคมไทย




ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมแบ่งแยกชนชั้น แอบอิงสถาบันกษัตริย์ และอำนาจนิยม (อาจเรียกด้วยฉายาพยางค์เดียวเก๋ไก๋ได้ว่า ‘สลิ่ม’) มีความจงเกลียดจงชังสูง แสดงปฏิกิริยาต่อต้านทุกลมหายใจ จนกลายเป็นสมัญญานามมีการกล่าวขานมากเสียยิ่งกว่าสกุลที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศ

ทั้งๆ ที่ตัวเขา ครอบครัว และเครือข่ายถูกกดดัน และตามล่าแม่มดอย่างหนักหน่วงตลอดสิบปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาสามารถยืนหยัดทัดทานและอยู่ยงได้อย่างเยี่ยมยอด

หลังจากที่เขาประกาศลี้ภัยการเมืองอยู่นอกประเทศ คณะรัฐประหาร ๒๕๔๙ ได้ทำการยึดทรัพย์สินของเขาไป ๑.๓ พันล้านเหรียญสหรัฐ เขาบอกกับไฟแน้นเชียลไทมส์ว่า เขาใช้พาสปอร์ตของประเทศมอนเตเนโกรเดินทางท่องโลก

“ยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป โดยลงทุนในบริษัทหลายแห่ง นับตั้งแต่บริษัทด้านเทคโนโลยีการแพทย์ในอังกฤษ เหมืองแร่ในอูกันดา และแทนซาเนีย” จนบัดนี้สิบปีผ่านไปเขามีทรัพย์ที่งอกเงยจากการทำธุรกิจราว ๑ พันล้านดอลลาร์

คำให้สัมภาษณ์ของทักษิณต่อหนังสือพิมพ์ชั้นนำของตะวันตกสองฉบับดังกล่าวย่อมสะท้อนก้องไปทั่งโลก เพราะไม่แต่เท่านั้น ในช่วงสุดสัปดาห์เดียวกัน หนังสือพิมพ์ตะวันตกที่มีชื่อเสีบงมากอีกสองฉบับ ได้ตีพิมพ์บทบรรณาธิการในวันเดียวกัน (๑๙ กุมภาพันธ์) ถึงสถานการณ์ในประเทศไทย

เดอะการ์เดียนและวอชิงตันโพสต์ ชี้ให้เห็นการไร้ประสิทธิภาพของคณะรัฐประหาร สภาพเสื่อมทรามทางสิทธิมนุษยชน และอาการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างน่าเป็นห่วง

น.ส.พ.เดอะการ์เดียนของอังกฤษชี้ว่า ชีวิตทางการเมืองในประเทศไทยหลังรัฐประหารครั้งล่าสุดติดกับอยู่ตรงกลางระหว่าง สภาพจอมปลอมกับโศกนาฎกรรม

โดยเงื่อนงำความจอมปลอมมาบิดเบี้ยวครั้งล่าสุดเมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงสั่งฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงน้องของทักษิณ

“แล้วโศกนาฏกรรมก็ดำเนินต่อไป เมื่อประเทศไทยละลายทิ้งเวลาอันมีค่าที่ไม่สามารถสูญเสียได้อีกแล้ว เศรษฐกิจหกขะเมนเทนเท่ทั้งที่สิ่งต้องการคือความเจริญเติบโต

สภาพสังคมอึมครึมอยู่กับภาวะของการสืบราชสันตติวงศ์เมื่อพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงมีพระชนม์ ๘๗ พรรษา และประชวร ฐานะของประเทศเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอยู่ในขั้นด้อย ถอยลงเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อสหรัฐมหามิตรเก่าแก่”

เดอะการ์เดียนแนะว่า ความพยายามที่จะกำหนดชะตากรรมทางการเมืองของประเทศสำหรับอนาคตควรต้องหยุดยั้งไว้ก่อน "การกลับไปสู่ประชาธิปไตยล่วงเลยมานานเกินไปแล้ว"

(http://www.theguardian.com/…/guardian-view-military-rule-th…)

สำหรับ น.ส.พ.วอชิงตันโพสต์พูดถึงคณะรัฐประหารไทยว่า อ้างตนดีกว่าเผด็จการทหารอียิปต์ ที่ไม่ได้ฆ่าคน (เหมือนนายพลอะซิซี) แต่กองทัพบกก็พยายามจะทำอะไรที่เคยล้มเหลวมาแล้วสองครั้ง

คือสร้างระบบการเมืองที่กำจัดตระกูลชินวัตรออกไปอย่างราบคาบ

“นักวิจัยไทยเชื่อว่าถ้ามีการเลือกตั้งอย่างเสรีขึ้นในขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์หรือใครในครอบครัวที่เสนอตัวเข้ามาก็จะชนะอีก

เมื่อรู้อย่างนี้ ประยุทธ์จึงได้ยืดเวลาการเลือกตั้งออกไปทั้งที่ได้ให้คำมั่นไว้ว่าจะเข้ามาอยู่เพียงปีเดียว”

คณะทหารไทยฮุนต้าดูเหมือนจะหวังว่าสามารถหมุนประเทศไทยกลับไปสู่ยุคทศวรรษ ๑๙๘๐ ที่การเลือกตั้งทำให้ได้รัฐบาลที่พวกนายพลเข้าไปนั่งเป็นนาย แต่ประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว




การเลือกตั้งอย่างที่กองทัพต้องการนั้นมีแต่จะทำให้ประชาชนต้องออกไปประท้วงบนท้องถนน กลายเป็นความรุนแรง”

บทบรรณาธิการวอชิงตันโพสต์ตำหนิรัฐบาลโอบาม่าที่ยอมจัดให้มีการซ้อมรบโคบร้าโกลด์ขึ้นในเดือนนี้ แม้จะเป็นการฝึกร่วมกันในวงจำกัดก็ตาม

วอชิงตันโพสต์แนะว่าปีหน้าสหรัฐไม่ควรกำหนดความช่วยเหลือทางทหารแก่ไทยอีก เพราะกฎหมายระบุห้ามไว้ถ้าหากไทยยังไม่กลับสู่ระบอบประชาธิปไตย

บทบรรณาธิการแนะว่า ถ้ารัฐบาลโอบาม่าไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติเช่นนั้น ก็เป็นหน้าที่ของสภาคองเกรสยื่นมือเข้ามาจัดการ

(https://www.washingtonpost.com/…/0c53b660-b863-11e4-a200-c0…)

กระแสลมตะวันตกกระพือหนักใต้ปีกทักษิณและยิ่งลักษณ์ในขณะนี้ เป็นจังหวะที่ถ้าหากการเงียบสงบรอท่าที อย่างที่ทักษิณเคยบอกกับคนเสื้อแดงเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว จะสิ้นสุดลง ก็เป็นสัญญานที่มีผู้ให้การต้อนรับจำนวนไม่น้อย

เว้นเสียแต่จะเป็นเพียงส่งสัญญานเกี๊ยเซีย ที่ฝ่ายตรงข้ามเองก็ไม่เห็นคุณค่า ไม่น่าเชื่อถือ เหมือนที่ผ่านๆ มา

ก็จะทำให้สถานะแกนนำทางฝ่ายประชาธิปไตย ที่มีการคาดหวังว่าทักษิณจะเข้าไปสวมอย่างภาคภูมิและเที่ยงตรงต่ออุดมการณ์ ต้องมีอันเสื่อมทรามลงไป

ต่อการส่งสัญญานครั้งใหม่นี้ มีข้อคิดจากคนในวงการสื่อที่เราเห็นว่ารับฟังไว้บ้างน่าจะดี Atukkit Sawangsuk คนเขียนอยู่ใกล้ๆ ข่าย Voice TV ที่ไม่ไกลกับเครือชินวัตรเท่าไรนัก

(https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1003657763049386&set=a.117209745027530.27134.100002155162989&type=3&theater)

“ข้อเสนอ ‘เจรจา’ ถ้าเป็นยุทธวิธีทางการเมือง ก็ใช่ แต่ถ้าเป็นยุทธศาสตร์ ไม่ใช่่

ยุทธวิธีหมายถึงแสดงเจตนาต้องการหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ ไม่ให้ประเทศเสียหายมากกว่านี้ ทำได้ และเป็นการแสดงท่าทีที่ดีด้วย

แต่ถ้ายุทธศาสตร์คิดแต่จะเจรจาเกี้ยเซี้ยะ ไม่สู้ ก็เห็นจะไม่ใช่ (จะโดนมวลชนด่าขรม)

อ้อ ไม่ว่ายังไง สมมติเกิดการเจรจา ภายหน้า ภายโน้น ชาติหน้า ฯลฯ ทักษิณก็ไม่ใช่ตัวแทนพลังประชาธิปไตย

ทักษิณตั้งตัวเป็นผู้เจรจาต่อรองแทนพลังประชาธิปไตยไมได้”