วันเสาร์, พฤษภาคม 21, 2559

“ตลกดี”





เห็นรายชื่อประเทศสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (อีอียู) ที่นายดอน (ปรมัตย์วินัย) ลิ่วล้อ คสช. บอกว่าไทยจะเตรียมความพร้อมเพื่อสมัครเข้าร่วม แล้วเป็นปลื้มกับทั่นผู้นัมพ์ จังเบย

อีอียูมีสมาชิก ๕ ประเทศ “คือเบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน อาร์มีเนีย และรัสเซีย” ล้วนแต่เป็นดินแดนสหภาพโซเวียตในอดีต บริวารรัสเซียทั้งนั้น

ถ้าไทยได้เข้าร่วมอีกหนึ่ง ก็โหย เป็นเกียรตออย่างสูง ได้เข้าเครือข่ายโซเวียตทั้งๆ ที่ไม่เคยมีชาติไหนที่อยู่นอกยุโรปตะวันออก ได้เคย (หรือสนใจ) เข้าร่วมมาก่อน

ถึงจะอ้างว่า “เพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับรัสเซีย ให้เป็น ๕ เท่า หรือ ๓.๒ แสนล้านบาท ภายใน๕ ปี สำเร็จได้ง่ายขึ้น เนื่องจากจะไม่ถูกกีดกันทางการค้าด้วยมาตรการทางภาษี” ก็เถอะ

ตัวเลขคาดการณ์สำหรับประเทศไทยอ้างง่าย พูดไปแล้วไม่กี่เดือนก็ลืม

มิหนำซ้ำ “การเดินทางเยือนรัสเซียของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ มีการหารือถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับยุทโธปกรณ์

ซึ่งรัสเซียต้องการซื้อยางพาราจากไทย จำนวน ๘๐,๐๐๐ ตัน และข้าวอีกบางส่วน ขณะที่ฝ่ายไทยต้องการซื้อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ดับไฟป่า”

(http://www.dailynews.co.th/politics/398907)

ขี่ช้างจับตั๊กแตนไหมนี่ ที่จริงไฟป่าไม่ได้ทำลายทรัพยากรมากเท่าลักลอบตัดไม้ เพราะเป็นไฟ manmade (อย่างในป่าลึกทุ่งใหญ่เคยมีพวกลักลอบที่เผาป่าก่อนแล้วค่อยตัดไม้เยอะไป) หรือชาวบ้านเผาทุ่งแล้วลามเข้าไปในป่าสงวน ก็ไม่น้อย





นี่อยากได้เฮลิค็อปเตอร์ใหม่แล้วอ้างไปให้ใหญ่โตหรือไม่ ทีโรงงานปล่อยสารปนเปื้อนลงดินที่ราชบุรี ชาวบ้านโวย ทหารกลับเรียกนายก อบต. แกนนำชาวบ้านที่ร้องเรียนเข้าค่ายรายงานตัวเสียนี่

“นายไพฑูรย์ ปัตตนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) น้ำพุ และนายธนู งามยิ่งยวด ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 1 ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี ได้เดินทางเข้าพบ พล.ต.เจษฎา เปรมนิรันดร ผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุม/ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 1 ที่ห้องประชุมตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี หลังทหารอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๕๙ ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอำนาจหน้าที่ออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัว”

ข้อหา “ยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความแตกแยก”

(http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx…)

นางประเทือง สังวาลย์เพชร ชาวบ้านในหมู่ ๑ ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวว่า “น้ำในลำห้วยส่งกลิ่นเหม็นหมด น้ำใต้ดินก็เหม็นหมด ขยะกองสูงเป็นภูเขา





เคยพูดกับท่านทหารบางท่านที่ได้ลงไปดูพื้นที่ของน้ำพุว่า มาตรา ๔๔ ใช้ต่อโรงงานได้หรือไม่ เพื่อให้โรงงานหยุดชั่วคราวเพื่อที่จะได้ช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด

ท่านทหารคนนั้นก็พูดว่ามาตรา ๔๔ ใช้พร่ำเพรื่อไม่ได้ แต่ในวันนี้ มาตรา ๔๔ ใช้ต่อประชาชนได้”

แถมใช้พร่ำเพรื่อ มั่วซั่วเสียอีก อย่างที่ทหารสนธิกำลังกับตำรวจรวม ๗ นาย ยกกำลังกันไปยังบ้านของนายเนติวิทย์ โชติภทร์ไพศาล นักเรียนแอ็คติวิสต์ ที่สมุทรปราการ เจ้าตัวเขียนเล่าทางเฟชบุ๊คว่า

เจ้าหน้าที่ “ได้พบพูดคุยกับบิดาของตน ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้มาตรวจสอบว่าตนเป็นผู้มีอิทธิพลหรือเป็นมาเฟียในพื้นที่หรือไม่”





เออนี่นะ นักกิจกรรมวัย ๑๙ ปี ถูกตั้งข้อสงสัยเป็นผู้มีอิทธิพล กะจะใช้มาตรา ๔๔ ยัดข้อหามาตรา ๑๑๖ ฐานบ่อนทำลาย จับใส่คุกคุมตัวไว้สักสี่ซ้าห้าปีพอให้โร้ดแม็พสืบช่วงอำนาจสำเร็จเสียก่อน

ก็คง “ตลกดี” อย่างที่เนติวิทย์ว่าน่ะแหละ “ตอนนี้ ยุคนี้มันก็ใครๆ มันก็จะโดน ไอ้เรื่องนี้มันก็ง่าย เตรียมใจไว้แล้วเหมือนกัน อาจจะโดนอะไรอย่างนี้บ้าง”

(http://prachatai.org/journal/2016/05/65898)

แล้วไง จะต้องทำใจหรือว่าทนๆ ไป ละหรือ อีกสี่ซ้าห้าปีทนไหวไหม

ทนไม่ไหวก็กลายเป็นเหยื่อเรตติ้งสื่อไทยเหมือนอย่างด็อกเตอร์วันชัยที่ฆ่าคนสองคนแล้วถูกตำรวจล้อมสี่ห้าชั่วโมงหมายกล่อม แต่กลับกลายเป็นทับถม ท่ามกลางถ่ายทอดสดของสื่อไทย

เป็นเรื่องของการผิดผีผิดไข้ในสังคมที่คนภายในจำนวนไม่น้อยปรามาสว่าอยู่ในกะลาครอบ หนักกว่านั้นก็ว่าขุดรูอยู่ใต้กะลาเสียอีก

ที่ซึ่ง Nanchanok Wongsamuth วิเคราะห์เหตุการณ์ไว้ว่า ‘feeling disappointed.’ น่าคิดตาม

“จิตวิทยา (ที่ส่วนใหญ่จะแย่) ในการเกลี้ยกล่อมของตำรวจ (เท่าที่จับใจความได้)

ประเด็นคือ ถ้าตำรวจมีทักษะในการพูดกับคนที่คิดที่จะฆ่าตัวตายได้แค่นี้เนี่ย เพราะอะไรถึงไม่ขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาหรืออาสาสมัครที่ได้รับการฝึกอมรมมาทางด้านนี้? แค่เสียงที่ตำรวจใช้ในการพูด ก็ไม่ผ่านละ

๑) "อาจารย์จะเอาอย่างนั้นเหรอ จะเอาให้ตัวเองไม่มีศักดิ์ศรีเหรออาจารย์?" - พูดแบบนี้ คุณไปตัดสินเขาแล้วอ่ะ ว่าเขา “ไร้ศักดิ์ศรี”

๒) "ชีวิตเราเกิดมามีค่า กว่าจะโตขนาดนี้ กว่าจะเป็นครูบาอาจารย์ขนาดนี้" - ถือว่าเป็นการสั่งสอน คือถ้าอยากจะพูดทำนองนี้จริง จะดีกว่าไหมถ้าหากพูดชื่นชมถึงสิ่งที่อาจารย์เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต?

๓) "วางปืนแก้ไขปัญหา ทิ้งปืน ชัยชนะกลับมาสู่ตัวเรา เราจะเป็นฮีโร่ สังคมจะยกย่องอาจารย์ทันที แต่ถ้าอาจารย์ทำอย่างงั้น บางคนมองเราแบบไร้ค่าอะอาจารย์" - นอกจากจะเป็นการสั่งสอนแล้ว ยังเป็นการตัดสินอีกต่างหาก

๔) "คนที่รักอาจารย์ร้องไห้คร่ำครวญในสิ่งที่อาจารย์ทำ อาจารย์ชอบเหรอ? อาจารย์มีความสุขเหรอ?" - เป็นการต่อว่าและทำให้อาจารย์รู้สึกผิด

๕) "ตอนนี้อาจารย์กำลังสับสนอยู่ แต่ผมกำลังอธิบายให้อาจารย์รับรู้ ว่าสิ่งที่อาจารย์ทำลงไปเนี่ย สังคมไม่ได้ประนาม สังคมเขารับทราบ รับรู้ แต่อยากจะฟังอาจารย์พูด ว่ามันเป็นยังไง" - โอเค ประโยคพวกนี้ใช้ได้ เป็นการสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของอาจารย์ ว่ากำลังสับสนอยู่

๖) "ทุกคนมีปัญหาทั้งนั้นแหละอาจารย์ แต่ต้องแก้ปัญหาสิครับ อย่าหนีปัญหาสิครับ" - แสดงว่าปัญหาของอาจารย์เป็นเรื่องเล็กเหรอ?

๗) "โยนทิ้งไป มันไม่มีประโยชน์หรอกอาจารย์ เชื่อผม เชื่อพวกเรา" - คำสั่ง

๘) "พวกเราเป็นกำลังใจให้อาจารย์ครับ" (พร้อมปรบมือ) - โอเค อันนี้ถูกต้อง เป็นประโยคให้กำลังใจ

(https://www.facebook.com/nanchanok.wongsamuth)

สุดท้ายก็โป้งใส่หัวตัวเองหนีความชั่วช้าที่ตำรวจพูดใส่โทรโข่งพ่นใส่ หนีข้อหาฆ่าคนตายที่มีโทษประหารเช่นกัน