วันเสาร์, กรกฎาคม 23, 2559

กกต. ผู้ทำหน้าที่จัดการออกเสียงประชามติที่ฟรีและแฟร์ เพื่อสะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง กำลังชี้นำอยู่หรือไม่???






Piyabutr Saengkanokkul
Yesterday at 1:55pm


พึ่งได้รับเอกสารจาก กกต. แจ้งให้ไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ โดย กกต. "หวังดี" แนบเอกสารที่ชื่อ "จุลสารการออกเสียงประชามติ" มาด้วย

ผมอ่านดูแล้ว คิดว่า กกต. กำลังทำผิดพลาด


กกต. เป็นผู้จัดการออกเสียงประชามติ ต้องมีความเป็นกลาง

กกต. จึงทำได้เพียงประชาสัมพันธ์ให้คนออกไปใช้สิทธิ และอธิบายว่า การออกเสียงประชามติในครั้งนี้ มีสองข้อ และบัตรลงคะแนนมีหน้าตาอย่างไร กากบาทอย่างไรถึงจะสมบูรณ์ เท่านั้น

ปรากฏว่า ใน "จุลสารการออกเสียงประชามติ" อธิบายวิธีการออกเสียงไว้ในหน้า 2 และ หน้า 3 เท่านั้น จากนั้น ตั้งแต่หน้า 4-8 คือ "สาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญ"

ในส่วนนี้เอง กกต. ได้ลงเนื้อหาที่อ่านดูแล้ว เหมือนร่างนี้มีแต่ "ข้อดี" (ซึ่งดีจริงหรือไม่ ยังต้องเถียงกันอีก ผมเห็นว่าไม่ใช่ "ข้อดี" ฝ่ายไม่รับร่าง คงเห็นว่าไม่ใช่ "ข้อดี") โฆษณาว่า ร่าง รธน นี้ ให้อะไรแก่ประชาชน

นี่ไม่ใช่หน้าที่ กกต. เลย กกต. เป็นคนจัดทำประชามติ ไม่ใช่ กรธ. กกต. ไม่มีหน้าที่ในการปกป้องร่าง รธน นี้ ไม่มีหน้าที่ในการโฆษณาให้ร่าง รธน นี้ กกต ทำได้เพียงแจ้งว่ามีการออกเสียงประชามติ วันที่เท่าไร เวลาใด กากบาทอย่างไร ประชามติมีกี่เรื่อง เท่านั้น

หาก กกต. ต้องการจะพูดถึงร่าง รธน กกต. ก็ต้องนำความเห็นสองฝ่ายลงไปด้วย เช่น ให้ฝ่าย กรธ. เขียนมาว่า ควรรับร่างเพราะอะไร ให้ฝ่ายไม่รับร่าง เขียนมาว่า ไม่รับร่างเพราะอะไร

ลองคิดดู หากเอกสารนี้ส่งไปทุกบ้าน เกิดผู้รับ เป็นคนที่ไม่สนใจการเมืองเลย ไม่ได้ตามร่าง รธน เลย แต่เขาเกิดสำนึกไปเองว่าการไปใช้สิทธิเป็นหน้าที่ของพลเมืองดี เมื่อเขารับเอกสารนี้ เขาคงใช้สิทธิออกเสียงรับร่างแน่ๆ เพราะ อ่านแล้ว มีแต่ข้อดี

นอกจาก กกต. จะชี้แจงเหมือนตนเองเป็น กรธ แล้ว เอาเข้าจริง กกต ยังชี้แจงไม่ครบถ้วนด้วย แม้หัวเรื่องจะใช้คำว่า "สาระสำคัญบางประการของร่าง รธน" จึงไม่สามารถลงได้หมดทุกเรื่อง แต่คำว่า "สาระสำคัญ" นี่มันควรรวมถึงอะไรบ้าง

บทเฉพาะกาล นี่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือ

วิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นี่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือ

กกต. อาจเห็นว่า ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ฝ่ายไม่รับอาจเห็นว่าเรื่องนี้แหละ เป็นสาระสำคัญอย่างยิ่ง

เมื่อมองไม่เหมือนกันเช่นนี้ กกต. ที่ทำหน้าที่จัดการออกเสียงประชามติ จึงไม่ควรอาสามาทำหน้าที่ชี้แจงร่าง รธน

กกต. ควรกลับไปทำหน้าที่ของตนเองแท้ๆ คือ ประชาสัมพันธ์ว่ามีการออกเสียงประชามติ เปิดโอกาสให้ฝ่ายไม่รับและฝ่ายรับได้รณรงค์อย่างเท่าเทียมกัน

พูดจริงๆ ไม่ได้ประชด หากดูเอกสาร กกต. ฉบับนี้ เฉพาะหน้า 4-8 แล้ว โดยไม่ดูหน้าปก ผมคิดว่านี่เป็นเอกสารของ กรธ.

มันช่างย้อนแย้งเข้าไปอีก เมื่อพลิกไปดูเอกสารหน้าสุดท้าย ที่ลงคำขวัญไว้ว่า

"เตรียมตัวให้พร้อม ไม่ยอมให้ใครชี้นำ
ตัดสินใจอย่างอิสระ เพื่อประชามติที่เที่ยงธรรม"

กกต. ผู้ทำหน้าที่จัดการออกเสียงประชามติที่ฟรีและแฟร์ เพื่อสะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง กำลังชี้นำอยู่หรือไม่???

ooo









มันมาถึงบ้านแล้วนะฮะ !...เป็นเอกสารบางเฉียบบบบ และพบว่ามีแต่ "เรื่องเด่น" ในร่างรธน. และไม่มีบอกเลยว่าอาจมีนายกฯ คนนอกได้ และ 5 ปีแรก สว.มาจาก คสช. แต่งตั้ง ...ว่ากันจริง ๆ เอกสารแบบนี้ ไม่สมควรออกจาก กกต. ซึ่งต้องวางตัวเป็นกลางเลยนะ อ่านๆไปคิดว่าเป็นเอกสารของ กรธ.

จริงอยู่ว่าไม่ได้บิดเบือนข้อเท็จจริงตรงๆ แต่มันก็คือการ "ไม่บอกแจ้งสาระที่ควรบอกแจ้ง" หรือ "ให้ข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียว" ซึ่งอาจทำให้ปชช.ไป vote yes โดยสำคัญผิดในสาระสำคัญได้

แบบนี้ ทางแพ่ง เขาบอกว่า นิติกรรมเป็นโมฆะ เสียเปล่า เชียวนะยะ


Sawatree Suksri

ooo

รวมเอกสารเท็จจาก กกต. กรธ. 
และความเห็นแย้งจาก ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM และคณะนิติราษฎร์

.....................

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ในวันที่ 29 มีนาคม 2559

http://www.ect.go.th/…/wp-cont…/uploads/2016/04/cons2016.pdf

หลังจากนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ออกเอกสารคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ มาแล้ว 2 เล่มคือ

คำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ เล่ม 1
http://cdc.parliament.go.th/draftconstitut…/ewt_dl_link.php…

คำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ เล่ม 2
http://cdc.parliament.go.th/draftconstitut…/ewt_dl_link.php…







โดยเอกสารของ กรธ. นั้นจะใช้ในการอบรม ครู ก. ครู ข. ครู ค. และส่งไปยังกลไกรัฐต่าง ๆ

ต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้งได้แจก จุลสารการออกเสียงประชามติ สรุปย่อสาระ สำคัญร่างรัฐธรรมนูญฯ และประเด็นเพิ่มเติม จัดทำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งไปให้กับประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งโดยเนื้อหาก็ลอกมาจาก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นั่นเอง

http://www.ect.go.th/…/uploa…/2016/06/referendum_booklet.pdf




เอกสารทั้ง 3 ชุดมีจุดร่วมเดียวกันคือ

1. มองด้านเดียว คือด้านดี
2. ให้ข้อมูลไม่ครบ โดยเฉพาะบทเฉพาะกาลที่จะทำลายหลักการที่เขียนไว้ก่อนหน้านั้น
3 ตีความเกินจริง

มีเอกสาร 2 ชุดที่ได้ออกมาที่คิดว่านาสนใจคือ

เอกสารความเห็นแย้ง เอกสารคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ โดย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำโดยขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM

https://ndmth.org/…/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E…/






แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ซึ่งโต้แย้งกับร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ

https://ndmth.org/…/%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E…/





Thanapol Eawsakul