วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 25, 2559

บทความแปลดิอีโคโนมิสต์: วิธีที่จะไม่ช่วยแก้วิกฤตการเมืองไทย (How not to solve a crisis)




Oh no
ภาพจาก The Economist

บทความแปลดิอีโคโนมิสต์: วิธีที่จะไม่ช่วยแก้วิกฤตการเมืองไทย


ที่มาเรื่อง ประชาไท
Wed, 2016-08-24 19:05

แปลจากบทความ “How not to solve a crisis”
ของนิตยสารดิอีโคโนมิสต์ ฉบับ 13 สิงหาคม 2559
แปลโดย วสุ วิภูษณะภัทร์

บทความจากดิอีโคโนมิสต์ ชี้ประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งที่หยั่งรากลึกของไทย แต่แค่เอาปัญหาไปซ่อนไว้เท่านั้น

จากการก่อรัฐประหารมาแล้วกว่า 12 ครั้งในช่วง 80 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า บรรดานายพลทั้งหลายของไทยไม่ได้เป็นมิตรกับประชาธิปไตยเท่าไหร่นัก ดังนั้นมันจึงดูขัดแย้งกันเมื่อรัฐบาลทหารชื่นชมคนไทยที่ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับกองทัพหนุนหลังในการประชามติที่มีการควบคุมอย่างหนัก ในขณะที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบกที่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการยึดอำนาจเมื่อปี 2557 ได้ยืนกรานว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะยุติความไม่มั่นคงทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาเกือบทศวรรษ และปูทางไปสู่การเลือกตั้งในปีหน้า ซึ่งความจริงแล้ว มันไม่สามารถสมานความแตกแยกอันฝังลึกในประเทศได้เลย แต่กลับทำให้สถานการณ์หนักขึ้นไปอีก

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 จะทำให้ทหารอยู่ในอำนาจได้อีกหลายปี และจะทำให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ ซึ่งจะถูกบงการโดยหน่วยงานต่างๆ ที่ประกอบด้วยคนที่เป็นแนวร่วมของรัฐบาลทหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน เพื่อทำให้แน่ใจว่ารัฐบาลใดก็ตามจะไม่ออกนอกแนวทางแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นอกจากนี้ ส.ว. ยังมีหน้าที่โน้มน้าวสมาชิกผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพียง 1 ใน 4 ของสภาเพื่อเลือกนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. มาก่อน (คำถามพ่วงที่ผ่านความเห็นชอบ ระบุว่า ให้ ส.ว.มีอำนาจโหวตผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกฯ โดยผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกฯ ต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ทั้งนี้ รัฐสภาประกอบด้วย ส.ส. 500 คนและ ส.ว. 250 คน ดังนั้น หาก ส.ส. 1 ใน 4 คือ 125 คน เลือกนายกฯ คนเดียวกับ ส.ว. 250 คน จะทำให้บุคคลดังกล่าวได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง (375) และได้เป็นนายกฯ-ประชาไท) ในขณะที่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญกลายเป็นสิ่งต้องห้าม

ผลประชามติครั้งนี้สร้างความงุนงงให้กับกลุ่มสิทธิพลเมืองและนักรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยที่เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้จะถูกต่อต้านอย่างหนัก โดยผลประชามติออกมาว่า คนไทยมากกว่า 61 % รับร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ภาคอีสานที่มีการต่อต้านทหารอย่างหนัก และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาการแบ่งแยกดินแดนมาช้านานไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

ผลคะแนนนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า ชนชั้นกลางไทยจำนวนมากรับได้กับการปกครองของทหารหากพวกเขาได้ประโยชน์ คนเมืองมากมายมีความปรารถนาเดียวกันกับรัฐบาลทหารที่จะขจัดอิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่ปัจจุบันลี้ภัยในต่างประเทศ พวกเขาเชื่อว่าทักษิณปกครองโดยทุจริต แต่กลับได้รับความนิยมจากคนยากจนในชนบท อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าจะทำให้พรรคของทักษิณที่ชนะการเลือกตั้งมาตลอดตั้งแต่ ปี 2544 เสียเปรียบจากกติกาการเลือกตั้งแบบใหม่ ในขณะที่กลุ่มต่อต้านรัฐประหารถูกเตือนว่าการโนโหวตอาจจะทำให้ทหารบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่พวกเขาไม่อยากได้เลย ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิ 59% สะท้อนว่าคนไทยไม่เห็นตัวเลือกทางการเมืองที่ดีเท่าไหร่นัก

ประชาชนผู้ใช้สิทธิส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญอย่างจำกัด ในขณะที่ คสช.ออกคำสั่งห้ามผู้ที่เห็นต่างวิพากษ์วิจารณ์ร่าง โดยมีกรณีที่อาจมีโทษจำคุกถึง 10 ปี และยังมีการจับกุมนักศึกษาที่พยายามชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของร่างรัฐธรรมนูญนี้

อย่างไรก็ตาม หลังจากผลประชามติ รัฐบาลทหารดูเหมือนว่าจะไม่ตระหนักถึงชัยชนะที่ว่างเปล่า หรือความโกรธที่สะท้อนในผลโหวตท่ามกลางการวิจารณ์ที่ถูกปิดปาก แต่กลับออกแถลงการณ์ว่า ผลโหวตนี้เป็นสัญญาณเดินหน้าประเทศ

สองพรรคการเมืองใหญ่ซึ่งประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ออกมายอมรับกับผลประชามติ หลังจากนี้จะมีการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. ปี 2560 หาก คสช. ไม่มีข้ออ้างที่จะเลื่อนการเลือกตั้งต่อไปอีก

ผลของการทำประชามติในครั้งนี้อาจจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลที่อ่อนแอซึ่งต้องฟังเสียงกลุ่มผลประโยชน์อันทรงอิทธิพลนั้นยากที่จะหาทางยกระดับประเทศขึ้นมาได้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มองว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยช้าลงจาก 5 เปอร์เซ็นต์ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็น 3 เปอร์เซ็นต์ใน 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอและการส่งออกจะลดลงเป็นปีที่สามติดต่อกันในปีนี้ กำลังแรงงานที่มีอยู่เริ่มสูงอายุและมีค่าแรงแพงขึ้น ขณะที่การพัฒนาประเทศไปสู่ “เศรษฐกิจฐานความรู้” กลายเป็นเรื่องน่าขันเพราะมีการเซ็นเซอร์และสอดส่องออนไลน์อย่างหนัก

วงจรการเลือกตั้ง การประท้วง และการทำรัฐประหารจะยังคงวนเวียนในการเมืองไทยไปอีกสักระยะ อย่างไรก็ตาม ในระบบการเมืองภายใต้การนำของรัฐบาลทหารนั้นจะทำให้พวกเขามีอำนาจในการควบคุมการเมืองโดยที่ไม่ต้องเอารถถังออกมา ถึงกระนั้น นี่ก็ไม่ใช่แนวทางที่จะแก้ปัญหาต้นตอความขัดแย้งของประเทศ ที่เกิดจากการปกครองแบบรวมศูนย์ซึ่งปล่อยให้คนใหญ่คนโตในกรุงเทพฯ กวาดเอาอำนาจและทรัพยากรไป การทำประชามติทำให้การรัฐประหารครั้งนี้ถาวร โดยที่แค่ซ่อนปัญหาไว้ใต้พรมเท่านั้น

ooo


Thai politics


A plebiscite further consolidates the army’s power


Aug 13th 2016 | BANGKOK | From the print edition
The Economist


HAVING launched more than a dozen coups in the past 80 years, Thailand’s generals have not been friends of democracy. So it has been jarring to watch the country’s ruling junta praise Thais for approving an army-backed constitution in a heavily-controlled “referendum”, which took place on August 7th. Prayuth Chan-ocha, an irascible former army chief who became prime minister after a military takeover in 2014, insists the new charter will end a decade of political instability and allow for fresh elections next year. In fact it will not heal Thailand’s deep divisions but make them worse.

The constitution, Thailand’s twentieth, will keep soldiers in charge for years to come. New election rules will produce weak coalition governments that can be bossed around by bodies stacked with the junta’s friends. The generals will handpick a 250-member senate, tasked with ensuring governments do not deviate from a 20-year programme of “reforms”. They will need to convince only a quarter of legislators in the lower house to back their choice of prime minister, who need not be an MP. Barriers to amending the constitution are prohibitive.

The result stunned civil rights groups and other campaigners for democracy, who had believed the plan would face fierce opposition. More than 61% of votes were in favour. Voters in the rural north-eastern province of Isaan (where opposition to army rule is fiercest) turned the charter down, but only just. The one convincing rejection came from Muslim-majority provinces in the south, where separatists wage a long-running guerrilla war.

The vote is a reminder that many middle-class Thais can stomach military rule if it serves their interests. Plenty of urbanites share the junta’s desire to stamp out the lingering influence of Thaksin Shinawatra, a populist former prime minister who now lives in exile. The urban elites say he governed corruptly. Wildly popular among the rural poor, Mr Thaksin’s parties have won every election since 2001 but

will be disadvantaged more than any other by the new election rules. As for the generals’ opponents, they had been warned that a “No” vote might result in the army imposing a charter they would like even less. A turnout of 59% suggests that some Thais saw no good choice at all.

Many voters appeared to have only limited knowledge of the new constitution’s implications, having been intentionally kept in the dark by the farcical way in which the referendum was conducted. The junta banned opponents from criticising the text, on pain of a ten-year prison sentence, and arrested students who attempted to point out its deficiencies.

Yet the generals seem oblivious to the emptiness of their victory and to the anger the show-vote has stoked among the critics it had to gag. Shortly after the result was announced Mr Prayuth’s government issued a pompous statement praising its own generosity for having offered Thais any say at all. It called the vote a “pinnacle” reached through many years of “great toil”.

Both Thailand’s big political parties had recommended rejecting the constitution, but they accepted the referendum result. An election will supposedly take place in November next year if the generals do not find an excuse to postpone it. It will certainly be cancelled in the event of the death of Thailand’s venerated king, who is old and gravely ill.

By providing investors with the impression of progress, the referendum may give a brief boost to Thailand’s sluggish economy. But weak governments beholden to powerful vested interests are hardly the ideal way to raise the country from its slough. The IMF reckons that Thailand’s potential growth has slowed from 5% in the mid-2000s to 3% over the past five years. Domestic demand is weak and exports will fall for a third year in 2016. The workforce is growing old and expensive, and talk of moving to a zesty “knowledge economy” looks absurd as censorship and online surveillance are tightened.

The churning of Thailand’s grim cycle of elections, protests and coups will subside for a while. Under the new system the generals will be able to manipulate politics without the hassle of mobilising tanks. But it will do nothing to tackle the root causes of the country’s tensions—a history of antiquated and over-centralised governance which allows bigwigs in Bangkok to hog influence and resources. The referendum makes the coup permanent. But it is only papering over the cracks.