วันศุกร์, พฤศจิกายน 25, 2559

บก.ลายจุด ทวิต... วันนี้เบสได้ visa ไปพูดที่อเมริกาแล้ว... คุณ'ดวงจำปา' แจง เรื่อง' ต้องคิด' ถ้าคุณเบส ได้วีซ่ามาพูดในหลายๆ รัฐในสหรัฐอเมริกา

ooo

สมมติว่า คุณเบส ได้วีซ่า ผ่านเข้ามาพูดในหลายๆ รัฐของสหรัฐอเมริกา ดิฉันคิดว่า มันจะมีเรื่องต่างๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง



ภาพจาก ผู้จัดการ

ที่มาเรื่อง FB


Doungchampa Spencer-Isenberg
November 18


1. การพูดของคุณเบส คงจะต้องเป็นการพูดแบบ Public หรือเปิดให้ทางสาธารณะได้เข้าไปฟัง และคุณเบสต้องเข้าใจว่า สถานที่ที่ยืนนั้นไม่อยู่ภายใต้กฎหมายใดๆ ของไทย

หลักการของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หรือ Freedom of Expression จะถูกครอบคลุมให้กับตัวคุณเบส และไปถึงใน Audiences หรือผู้ฟังทุกๆ คน

การฟังแบบนั้น ไม่ใช่การ "สะกดจิต" หมู่ และจริงๆ แล้ว ก็ต้องมีการถามตอบจาก audiences ด้่วย ซึ่งดิฉันมั่นใจมากๆ ว่า การพูดหรือหัวข้อที่คุณเบสจะไปพูดนั้น มันจะมีความอ่อนไหว และมีการตั้งคำถามอย่างแน่นอน ประเภทให้พิสูจน์ว่า มันมีความจริงเท็จขนาดไหน มีหลักฐานอ้างอิงอะไรหรือไม่ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา ที่หลายๆ คนที่เข้าไปฟังจะไม่ปักใจเชื่อสนิท 100%

คุณเบสเตรียมตัวกับเรื่องแบบนี้มากน้อยเท่าไร?

---------------------

แต่ถ้าหากเป็นการ ปาฐกถาปิดหรือ Closed door meeting อันนั้น ก็อาจจะไม่มีปัญหา แต่การพูดเกี่ยวกับ "ความดีต่างๆ " ของสถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงด้านเดียว มันสามารถสร้างความสงสัย และคำถามให้กับ Audiences ด้วยเช่นเดียวกัน

และตัวดิฉันเอง ก็ไม่คิดว่าจะเป็นรูปแบบของ "ปาฐกถาแบบปิด"

---------------------

และการจะไป "ลามปาม" ถึงคนที่ตั้งคำถามแย้งนั้น มันก็ขัดกับหลักการของ Freedom of Expression อยู่แล้ว

สิ่งที่สำคัญคือ ถ้าคำถามจาก Audiences ไม่ถูกหูคนฟัง จะมีการ "ล่าแม่มด" กับคนถามแค่ไหน?

และถ้าคำถามเป็นเรื่องที่ต้องการให้มีการ "พิสูจน์" ขึ้นมา จะมีการ "รุมประชาทันฑ์" คนถามหรือไม่ หรือว่า ต้อง "ซาบซึ้ง" กับ สุนทรพจน์อย่างเดียว?

อย่าลืมว่า ถ้ามีการทำอะไรแบบ "ผิดกฎหมาย" ใน US ขึ้นมา มันสามารถทำการ "ฟ้องร้อง" ได้ทันที โดยเฉพาะเรื่องนี้ เพราะ รัฐต่างๆ ที่สร้างขึ้นมา 200 กว่าปีนั้น มีรากฐานมาจากความคับแค้นใจเกี่ยวกับ Freedom นั่นแหละ และการจะมา "ปิดปาก" ผู้ถาม ก็คงจะเป็นการ "ละเมิด" สิทธิ์เบื้องต้นเลยจริงๆ

---------------

2. การพูดใน US และอีกหลายๆ รัฐนั้น คุณเบสมีอัตรารายได้ที่ประกาศไว้คือ ชั่วโมงละเท่าไร กี่พันกี่หมื่น ซึ่งหลักการนี้ จะถูกนำมาใช้ใน US เช่นเดียวกัน

และเมื่อมีรายได้ ที่ทางกลุ่มผู้เชิญ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาหรือทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้เชื้อเชิญแต่อย่างใด คุณเบสจะต้องแจ้งรายได้เหล่านั้น และนำไปเสียภาษีให้กับทางสรรพากรของ US (Internal Revenue Service) ด้วยอัตราทั้งหมด 30% ของรายได้

และต้องมีการสมัครทำเลขเสียภาษีก่อน เรียกว่า ITIN หรือ Individual Taxpayer Identification Number เนื่องจากคุณเบสไม่ได้อยู่ใน US อย่างถาวร และคิดว่า คงจะอยู่เกิน 9 วัน เลขประจำตัวเหล่านี้ เป็นเลขที่ใช้ในการเสียภาษีรายได้ ของตัวบุคคลให้กับรัฐบาลกลาง และอาจจะต้องเสียภาษีในรัฐที่ตนเองจะต้องไปพูดด้วย อันนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายในแต่ละรัฐ

---------------

ถามว่า ทำไมอดีตนายกฯ ทักษิณ ถึงไปพูดใน Los Angeles ได้? เรื่องนี้ดิฉันไม่ทราบรายละเอียด แต่คิดว่า อดีตนายกฯ ทักษิณ อาจจะเข้าไปใน US โดยไม่ได้ใช้วีซ่าแบบท่องเที่ยว แน่นอน

และตามความคิดของดิฉัน น่าจะเป็นแบบ J-1 หรือ Exchange Visitor มากกว่า ซึ่ง J-1 สามารถทำงานได้ และมีรายได้เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะคนที่ถือ J-1 สามารถ apply เบอร์ Social Security Number ได้ เหมือนกับ นักเรียนนักศึกษาที่ใช้ F-1 (บางคนต้องทำงานในมหาวิทยาลัยการศึกษา ก็สามารถสมัครได้เช่นกัน)

แต่ส่วนใหญ่แล้ว (รวมทั้งเคสของอดีตนายกฯ ทักษิณ) ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ดำเนินการทำ paperwork ทุกอย่างให้กับ Foreign Guest Speakers รวมทั้งแบบฟอร์มต่างๆ ไว้เรียบร้อยให้กับทาง สรรพากร US (IRS)

มหาวิทยาลัยอย่างเช่น Harvard หรือ Princeton ก็ทำเรื่องเหล่านี้อยู่เป็นประจำ และถ้าตัวผู้รับเชิญมาอยู่ในระดับ Honorarium คือมีค่าบริการต่างๆ ที่จ่ายให้เรียบร้อย ก็สามารถนำมาหักภาษีอื่นๆ ต่อได้

(เชิงอรรถ: คอมเม้นท์ที่ 2 และคอมเม้นท์ที่ 3)

รัฐ Massachusetts ตั้งอัตราภาษีไว้อีก 5.25% เป็นภาษีจากรัฐ ถ้ามีรายได้เกิน $5,000 อีกด้วย

---------

ส่วนอาจารย์นักพูดท่านอื่นๆ ก็มีรายได้บวกค่าใช้จ่าย ที่สามารถนำไปหักภาษีได้เช่นเดียวกัน ถ้านักพูดส่วนใหญ่มีรายได้แบบเป็นกอบเป็นกำอย่างที่เห็นๆ

อย่างที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล มาพูดที่ Los Angeles และได้เงินสดกลับไปเป็นปึกๆ แล้ว มีการเสียภาษีหรือไม่?

ดิฉันไม่ทราบคำตอบในเรื่องนี้ แต่ถ้าจะทำให้ถูกต้อง เงินบริจาคให้คุณสนธิเหล่านั้น จะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลของ US อย่างแน่นอน เพราะรายได้เกิน $3,000 ขึ้นไป

ถ้าจะมีการ "ตามเรื่อง" จริงๆ ก็น่าคิดเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่อง "ภาษีย้อนหลัง" แต่ก็คงไม่มีใครทำ หรือ ไม่มีใครทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไรนัก บางทีความเงียบเฉยก็เป็นความได้เปรียบของตัวบุคคลไป (Silence is Golden.)

เพราะจริงๆ แล้วควรจะต้องจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลกลาง และ ให้กับรัฐ California เช่นกัน เพราะคุณสนธิ ไม่ได้อยู่ในสถานะของอาชีพที่จะได้รับการยกเว้นเช่น ครู อาจารย์ เป็นต้น

---------

แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็มี สนธิสัญญา หรือ Tax Treaties กัน ก็ต้องไปหาข้อมูลว่า ได้รับการยกเว้นหรือไม่ แต่ที่เขียนนี้ก็กล่าวถึงว่า ถ้าไม่ได้รับการยกเว้น ก็จะต้องมีการจ่ายภาษีให้กับทั้งรัฐบาลกลาง (Federal Government) และ รัฐบาลของรัฐ (State Government) อีกด้วย

เท่าที่อ่านคร่าวๆ ดู สนธิสัญญาทางภาษีกับไทย มีระบุไว้ในเรื่องของ นักเรียน และ ผู้ฝึกงาน (Students & Trainees) ก็จะต้องเสียภาษี ถ้ามีรายได้เกิน $3,000 ขึ้นไป และถ้าบุคคลมีรายได้จากโครงการที่สปอนเซอร์โดยรัฐบาล ก็ต้องเสียภาษีถ้ามีรายได้เกิน $10,000

ซึ่งคุณเบสก็ไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการยกเว้น เพราะคุณเบสไปในฐานะประชาชนธรรมดา ใช้พาสปอร์ตสีน้ำตาล ไม่ใช่พาสปอร์ตข้าราชการ

---------

แต่มีเรื่องอาจารย์ (Teachers) อยู่ จะได้ยกเว้นเรื่องภาษี ถ้าทำการวิจัย การสอน ฯลฯ ในเวลาสองปีแรก

แต่คุณเบสก็ไม่ได้อยู่ในฐานะของอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย. ผู้ฝึกงาน. นักวิจัย หรือ นักศึกษาแต่อย่างใด

ก็เลยคิดว่า คุณเบสอาจจะขอวีซ่าผิดประเภท เพราะการเดินทางเหล่านี้ คุณเบสไม่ได้ไปในนามของรัฐบาล และต้องมีการเสียภาษีรายได้เช่นกัน

(อัตราค่าจ้างของคุณเบสเกิน 4 ชั่วโมงแน่ๆ เพราะเห็น rate แล้ว ก็คงจะต้องเสียภาษีเหมือนกับ Foreign Nationals ทั่วไป ไม่อย่างนั้น ก็ถือว่า มีการ "หลีกเลี่ยง" ภาษี ซึ่งทาง IRS เขาจ้องอยู่เต็มที่แล้ว

(เชิงอรรถ: คอมเม้นท์ที่ 1)

ก็ขอจบแค่นี้ ก็แล้วกัน

Happy Weekend ค่ะ

Doungchampa Spencer-Isenberg


ooo

'ความไม่โปร่งใสจุดชนวนเบส อรพิมพ์'


https://www.facebook.com/VoiceTVonline/videos/10155763267309848/

Voice TV 21