วันพุธ, มิถุนายน 07, 2560

ฟังประยุทธ์อีกครั้ง... 30 บาท ทำโรงพยาบาลเจ๊ง - ไม่เอา "30 บาท" แต่ซื้อ "เรือดำน้ำ" ใครได้ความสุขจากรัฐประหาร?




https://www.youtube.com/watch?v=NvB35USVEXg

30 บาทรักษาทุกโรค ไม่เห็นด้วยแต่ไม่เลิก


Published on Jul 2, 2015
30 บาทรักษาทุกโรค ไม่เห็นด้วยแต่ไม่เลิก

.....

ไม่เอา"30บาท" แต่ซื้อ"เรือดำน้ำ" ใครได้ความสุขจากรัฐประหาร?



https://www.youtube.com/watch?v=Fh33IitMTKA

jom voice

Published on Jul 2, 2015

อาจารย์วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิจารณ์ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคว่าทำลายระบบสุขภาพของประเทศ สิ้นเปลือง และเป็นประโยชน์ของฝ่ายการเมืองมากกว่า โดยเปรียบเทียบกับการที่รัฐบาล คสช. อนุมัติงบประมาณ 6 หมื่นกว่าล้านบาทเพื่อซื้อเรือดำน้ำ ว่า เป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจน ว่าคสช. ทำรัฐประหารเข้ามาเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง แทนที่จะทำงานเพื่อสร้างสวัสดิการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่โครงการ 30 บาท เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ แม้แต่สหประชาชาติก็ใช้ไทยเป็นต้นแบบ ตรงกันข้าม รัฐบาล คสช. กลับอนุมัติงบประมาณกว่า 6 หมื่นล้านบาทเพื่อซื้อเรือดำน้ำโดยไม่มีการถกเถียงว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำเช่นนี้ จะไปทำสงครามกับใคร หรือต่อรองอะไร ในเมื่อโลกทุกวันนี้ต่อสู้กันด้วยเศรษฐกิจไม่ใช่การใช้กำลัง แทนที่จะปฎิรูปกองทัพไทยให้มีประสิทธิภาพ ลดกำลังพลที่ไร้ประสิทธิภาพออกไป ซึ่งความล้มเหลวเหล่านี้ของรัฐบาล คสช.จะทำให้ประชาชนทุกกลุ่มตาสว่างมากขึ้น โดยเฉพาะชนชั้นกลาง กลุ่มการเมืองบางกลุ่ม และข้าราชการที่ให้การสนับสนุนรัฐประหารก่อนหน้านี้

.....

‘หมอมงคล’ ชี้กำลังมีการทำลายหลักการ 30 บาท ผ่านการแก้ กม.บัตรทอง ละเมิดสิทธิของประชาชน





ที่มา คมข่าว
Jun 7, 2017

เว็บไซต์ www.hfocus.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รายงานประเด็นความเคลื่อนไหวในแวดวงสาธารณสุขและระบบสุขภาพ ระบุว่า

นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งข้อความเปิดใจ ผ่าน facebook ส่วนตัว Mongkol Na Songkhla ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้นายกฯ พิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะมีความพยายามจากกลุ่มผู้ให้บริการเสนอแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชี้ถ้านายกฯ ปล่อยให้มีการแก้ไขตามที่กำลังทำอยู่ จะเป็นการทำลายหลักการแยกผู้ซื้อบริการออกจากผู้จัดบริการ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน และใช้งบประมาณแผ่นดินที่ไม่เป็นธรรม
ข้อความทั้งหมดมีดังนี้

“ก่อนอื่นผมขอขอบคุณท่านนายกฯ แทนประชาชนคนไทยที่ยืนยันต่อสาธารณะว่าไม่มีการยกเลิกหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าหรือ 30 บาท แต่ต้องรีบเสนอเรื่องนี้ต่อไปเพื่อขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงการที่มีความพยายามจากผู้ให้บริการ พยายามเสนอแก้กฏหมายเพื่อให้อำนาจการตัดสินใจการบริหารจัดการ สปสช.และงบประมาณไปอยู่ในอำนาจของตน ถ้าท่านนายกปล่อยไปจะเป็นการทำลายหลักการแยกผู้ซื้อบริการ คือ สปสช.ที่ทำหน้าที่แทนประชาชน ออกจากผู้ให้บริการ เพราะหากเงินเอาไปใส่มือให้ผู้ให้บริการแล้วจะไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าผู้บริการจะควักกระเป๋าเอาเงินมาจ่ายค่าบริการให้ประชาชนอย่างเหมาะสม

เรื่องนี้มีที่มาที่ไป เมื่อครั้งวางหลักเกณฑ์โครงการ 30 บาทปี 2540 ผมเป็นผู้นำปฏิบัติตกลงกันว่าถ้ากระทรวงสาธรณสุขกระจายอำนาจให้หน่วยบริการออกไป กระทรวงจะทำหน้าที่ซื้อบริการ สปสช.ก็ไม่จำเป็นตัองตั้งขึ้นมา แต่สุดท้ายกระทรวงไม่ยอมปล่อยหน่วยบริการออกไป และต่างก็เห็นพ้องด้วยกันว่าต้องตั้ง สปสช.ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แทนประชาชน

ท่านนายกฯ ครับกฎหมายที่แก้ไขหลายประเด็นที่ทำลายหลักการที่กล่าวมาแล้ว เช่น ตัดเงินเดือนไปให้กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มสัดส่วนกรรมการผู้ให้บริการ และให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน ลดกรรมการภาคประชาชนลง ดึงงบจัดซื้อยาราคาแพงและจำเป็นไปทำเอง ทั้งที่ประจักษ์ชัดว่า สปสช.บริหารงบฯ ก้อนนี้ประหยัดไปได้เป็นแสนล้านในระยะไม่กี่ปี

ท่านนายกฯ ครับ กฎหมายที่กรรมการแก้ไขและกำลังจะเสนอท่านนั้น ผมพิจารณาเห็นว่ามีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนและใช้งบประมาณแผ่นดินที่ไม่เป็นธรรมครับ”

ขณะเดียวกัน นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ได้โพสต์บทความของ ดร.ปกป้อง จันวิทย์ ใน Facebook/ติดตามการปฏิรูปประเทศกับหมอชูชัยว่า “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งคนทั่วไปอาจจะคุ้นกับชื่อ 30 บาท รักษาทุกโรค มากกว่า ไม่ใช่นโยบายประชานิยม แต่เป็นการสร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ช่วยเหลือทุกคนอย่างถ้วนทั่ว เพราะมันเปลี่ยนสถานะของบริการสาธารณสุขจาก ‘สินค้า’ ในระบบตลาดที่คนมีเงินเท่านั้นที่เข้าถึงได้ หรือ ‘ส่วนบุญ’ ในระบบสังคมสงเคราะห์ที่ต้องพกบัตร ต้องจน ต้องถูกแบ่งแยกกดต่ำ ต้องแสดงให้เห็นว่าตน ‘ด้อย’ กว่าจึงจะได้รับความช่วยเหลือ ให้เป็น ‘สิทธิ’ ของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เป็น ‘สิทธิ’ ที่ไม่ต้องร้องขอ และไม่ต้องรอให้ใครอนุมัติก่อน

ประเด็นนี้มีความสำคัญมากและถือเป็นจิตวิญญาณของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ว่าได้ เพราะมันเปลี่ยนผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจแนวดิ่งที่หมอหรือโรงพยาบาลถือครองอำนาจเหนือกว่าผู้ป่วย มาเป็นความสัมพันธ์เชิงพันธสัญญาที่หมอหรือโรงพยาบาลต้องกลายมาเป็นผู้ให้บริการผู้ป่วยไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน มีการศึกษาสูงต่ำเพียงใด มันทำให้พลังอำนาจของหมอกับคนไข้เข้าใกล้กันมากขึ้น”