วันศุกร์, กันยายน 15, 2560

ฉบับเข้าใจง่าย... ตำนานเรือเหี่ยวจอดมากกว่าเหาะราคา 350 ล้าน+ ซ่อมบำรุงรวมเกือบ 500 ล้าน




ตำนานเรือเหี่ยวจอดมากกว่าเหาะราคา 350 ล้าน+ ซ่อมบำรุงรวมเกือบ 500 ล้าน จัดซื้อยุคป๊อก อนุพงษ์ เป็นผบ.ทบ. ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการ "ขาดทุน "แต่อย่างใด
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/772789

ชัยวุฒิ สุวรรณโณ


ooo


ปิดฉากเรือเหาะ หมดอายุใช้งาน ทบ.ฟันงบราว500ล้าน





15 กันยายน 2560
กรุงเทพธุรกิจ

ผบ.ทบ.แจงปิดฉากเรือเหาะ ไฟเขียวขส.ทบ.หากนำรถลากจูงประมูลขายทอดตลาด ชี้ช่วงลงจชต.ปี 2554 ยังใช้ทำการบินได้ ไม่ใช่เรือเหี่ยว - คาดกองทัพบกฟันงบราว500ล้าน

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณีที่มีการนำประเด็นการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกไร้ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรือเหาะที่ประจำการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ตนยังไม่ทราบ ส่วนการใช้งานนั้น ตัวเรือเหาะ ซึ่งเป็นบอลลูนครบอายุการใช้งานแล้ว เพราะเป็นผืนผ้าหมดอายุการใช้งาน แต่กล้องตรวจการณ์ยังใช้งานได้ ดังนั้นจะต้องมีการปรับรูปแบบการใช้งาน อาจจะนำไปติดอากาศยาน ซึ่งทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) กำลังดำเนินการอยู่ แต่ตัวบอลลูนหมดอายุการใช้งาน การจะให้คนขึ้นไปอยู่บนนั้นเสี่ยงอันตราย ดังนั้นจึงให้ระงับการใช้งานไว้ก่อน

“อาจจะต้องมีการปรับรูปแบบการใช้งานเพราะตัวที่มีราคาแพงและใช้ประโยชน์ได้คือกล้อง แต่ยืนยันว่าจะไม่มีการซื้อตัวบอลลูนใหม่ แต่ดูแลส่วนประกอบที่เป็นกล้อง มาปรับรูปแบบการใช้งานเพราะมีราคาแพง และ ถือเป็นหัวใจของกระบวนการในการค้นหา นำไปประยุกต์ใช้กับอากาศยาน ซึ่งขณะนี้กำลังทดลองทำอยู่ “ ผบ.ทบ.ระบุ

เมื่อถามว่า แสดงว่าแบบนี้ ถือว่าปิดฉากการใช้เรือเหาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ใช่หรือไม่ พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า “ใช่ครับ แต่ส่วนประกอบอื่นก็สามารถนำไปใช้กับอากาศยานได้ ส่วนรถลากเรือเหาะที่มีข่าวว่าจะมีการนำไปประมูลขายทอดตลาดนั้น อยู่ในขั้นตอนที่ของกรมขนส่งทหารบก เป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป เพราะทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานก็จะเกิดความเสียหาย เมื่อถามว่า จะเรียกว่า “เรือเหี่ยว” ได้หรือไม่ พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า “ที่ผ่านมาก็ใช้ได้นะ สมัยที่ผมลงไปปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี 2554 เรือเหาะตรวจการณ์ก็สามารถใช้งานได้อยู่”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้กองทัพบกซื้อเรือเหาะและระบบตรวจการณ์มาในราคา 350 ล้านบาท เป็นตัวเรือเหาะ 260 ล้านบาท กล้องตรวจการณ์ และระบบภาคพื้น รถต่างๆ 70 ล้านบาท โดยเข้าประจำการเมื่อปี 2552 แต่ต่อมาเกิดปัญหารั่วและต้องเติมก๊าซฮีเลี่ยมที่มีราคาแพง จนต้องจอดเก็บในโรงจอด ที่กองพลทหารราบที่ 15 ( พล ร.15) อ. หนองจิก จ. ปัตตานี. จนในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น ผบ.ทบ. ได้จ้างบริษัทมาดูแลรักษาซ่อมบำรุง ปีละ 50 ล้านบาท และได้นำออกมาบินตรวจการณ์บ้าง แต่ถูกวิจารณ์ว่าบินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด จนที่สุดก็ต้องจอดเก็บไว้จนหมดอายุหรือไม่

ooo


ย้อนเส้นทาง เรือเหาะใต้ 350 ลบ. ราชินีโรงจอด 8 ปี ฉบับเข้าใจง่าย





ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
14 ก.ย. 2560


ย้อนลำดับเหตุการณ์สำคัญตลอด 8 ปี "เรือเหาะดับไฟใต้" กองทัพบก มูลค่า 350 ล้าน ที่จัดซื้อในยุค บิ๊กป๊อก-บิ๊กตู่ นั่งเก้าอี้ ผบ.ทบ. ท่ามกลางการโจมตีของหลายฝ่าย โดยเฉพาะคู่ปรับ "เพื่อไทย" มองว่าแพงเกินจริง-ไม่คุ้มค่า

หลังจากมีกระแสข่าวว่า พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ได้ปลดประจำการณ์ เรือเหาะตรวจการณ์ ที่กองทัพบกได้จัดซื้อสมัย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา หรือ บิ๊กป๊อก ผบ.ทบ.ในขณะนั้น เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน ท่ามกลางกระแสโจมตีของหลายฝ่ายที่ระบุว่า เป็นการจัดซื้อที่ไม่คุ้มค่ากับราคา 350 ล้านบาท และมองว่าแพงเกินจริง เนื่องจากเรือเหาะที่มีขนาดใกล้เคียงกันมีราคาเพียง 30-50 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งทางกองทัพบกก็ได้ออกมาตอบโต้และยืนยันตลอดว่า เรือเหาะดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริง ทุกขั้นตอนมีความโปร่งใส ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่มีการจัดซื้อนั้น

วันนี้ (14 ก.ย.60) ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จึงขอไล่ลำดับเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่การจัดซื้อเรือเหาะในปี 2552 จนถึงปัจจุบันว่าอะไรเกิดขึ้นบ้าง ดังนี้

10 มี.ค.52 พรรคประชาธิปัตย์ (ฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้น) อนุมัติงบ 350 ล้าน แบ่งเป็นราคาบอลลูน 260 ล้าน กล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวันกลางคืน 70 ล้าน ส่วนที่เหลือ 20 ล้าน เป็นอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้น จัดหาเรือเหาะตรวจการณ์ เพื่อใช้ในกิจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อใช้ในภารกิจความไม่สงบในภาคใต้ โดยระบุคุณสมบัติว่า สามารถบินได้พ้นรัศมีของปืน M16





23 เม.ย.52 กองทัพบกทำสัญญาจัดซื้อเรือเหาะตรวจการณ์จากบริษัท เอเรียล อินเตอร์เนชั่นแนล คอเปอร์เรชั่น

28 มิ.ย.52 เรือเหาะตรวจการณ์ถูกส่งถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

18 ธ.ค.52 เรือเหาะเข้าประจำการ ณ โรงจอดภายในหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี กองพลทหารราบที่ 15 อย่างเป็นทางการ (พล.ร.15) อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

15 ม.ค.53 กองทัพกำหนดให้เป็นวันเริ่มนำเรือเหาะขึ้นปฏิบัติการเป็นครั้งแรก แต่ประสบปัญหาทางเทคนิค ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงยังไม่มีการรับมอบสินค้าอย่างเป็นทางการ

5 มี.ค.53 คณะกรรมการตรวจรับเรือเหาะจัดทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน พบว่ามีปัญหาหลายอย่าง ในส่วนกล้องและตัวบอลลูน ตัวเรือเหาะบินได้ 1 ใน 3 ของสเปกไม่พ้นระยะยิง ด้าน บิ๊กป๊อก โบ้ยให้กรรมการตรวจรับเรือเหาะรับผิดชอบหากพบว่าเรือเหาะบินไม่ได้ ลั่นจัดซื้อ "เหมาะสม ถ้าไม่เหมาะสมจะสั่งซื้อได้อย่างไร"

5 มี.ค.53 พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสนาธิการทหารบก ปัดข่าวนายทหาร 2 นาย ซึ่งเป็นกรรมการตรวจรับเรือเหาะ ขอลาออกเนื่องจากไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับโครงการที่เป็นปัญหา ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง

9 มี.ค.53 บิ๊กป๊อก ลงพื้นที่ร่วมตรวจสอบประสิทธิภาพเรือเหาะอีกครั้ง พบปัญหาหลายอย่าง แต่ยืนยันว่าระบบยังใช้งานได้ดี ระบุ โครงการจัดซื้อโปร่งใส หาก สตง.-ป.ป.ช. ตรวจสอบว่ามีการโกงก็พร้อมเข้าคุกทันที

11 มี.ค.53 ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย กังขากองทัพบกไม่ยอมชี้แจงการจัดซื้อเรือเหาะ อ้าง ผบ.ทบ. ติดภารกิจ (อ่านข่าวคลิก)

27 พ.ค.53 คณะกรรมการตรวจรับเรือเหาะลงนามรับมอบ “บอลลูน”

9 มิ.ย.53 รองเจ้ากรมท่าบำรุงทหารบก แถลงโต้ข่าววิพากษ์วิจารณ์การจัดซื้อเรือเหาะ โดยเฉพาะเรื่องบินต่ำกว่าสเปก คือบินได้เพียง 1 กม. โดยระบุว่าสเปกจริงบินได้ 3 กม. แต่เมื่อติดกล้องและรวมคนขับเข้าไปแล้วจึงทำให้บินต่ำลง

23 ก.ค.53 คณะกรรมการตรวจรับเรือเหาะ ลงนามรับมอบเรือเหาะตรวจการณ์ทั้งระบบ ทั้งที่ยังมีคำถามค้างคาใจจากหลายฝ่าย ด้านโฆษกพรรคเพื่อไทย ฉะกองทัพบกงุบงิบงบประมาณจัดซื้อเรือเหาะ ใช้งบไม่โปร่งใส กันสื่อไม่ให้เข้าสังเกตการณ์

23 ก.ค.53 กองทัพบกเสนอเรื่องให้บริษัทผู้ผลิต นำเรือเหาะลำใหม่เปลี่ยนลำเดิม เหตุมีรอยปริแตก รั่วซึม

3 ส.ค.53 พล.อ.อนุพงษ์ โต้กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องจัดซื้อเรือเหาะทุจริต ยันเจ้าหน้าที่ทำตามกฎหมาย ส่วนเรื่องการใช้งานไม่ต้องห่วง เนื่องจากอยู่ในช่วงรับประกัน

30 ก.ย.53 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.แทน พล.อ.อนุพงษ์ ที่เกษียณอายุราชการ

18 ก.พ.54 เจ้าหน้าที่นำเรือเหาะขึ้นบินตรวจการณ์และทดสอบขีดความสามารถ ใช้กล้องอินฟาเรดเก็บภาพพื้นที่ จ.ปัตตานี บินไกลสุดในรอบ 7 เดือน (อ่านข่าวคลิก)

20 ก.พ.54 กองทัพบกขอเปลี่ยนผ้าใบบอลลูนจากบริษัทผู้ผลิต

16 มี.ค.54 พล.อ.ประยุทธ์ ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมเรือเหาะครั้งสุดท้ายก่อนใช้งานจริง

17 มี.ค.54 พรรคเพื่อไทย (ฝ่ายค้านในขณะนั้น) อภิปรายไม่ไว้วางใจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซัดซื้อเรือเหาะมีประสิทธิภาพไม่คุ้มราคา





17 มี.ค.54 นายอภิสิทธิ์ โต้พรรคเพื่อไทย ยัน รัฐบาลไม่ละเลยปัญหา มีการตรวจสอบ ลั่น หากไม่ได้คุณภาพก็จะไม่ให้กองทัพบกรับไว้

11 ต.ค.54 พล.อ.ประยุทธ์ เล็งใช้เรือเหาะตรวจการณ์ บินสำรวจพื้นที่น้ำท่วมปี 54

13 ธ.ค.55 เรือเหาะประสบอุบัติเหตุขณะลงจอดที่โรงเก็บเรือเหาะ เนื่องจากนักบินไม่สามารถควบคุมเรือเหาะได้ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจสำรวจความปลอดภัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

18 ก.ค.56 มทภ.4 ยันยังไม่เซ็นจำหน่ายเรือเหาะ เผยขณะนี้อยู่ระหว่างการซ่อมแซมความเสียหายจากอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.55

5 ก.ย.57 เรือเหาะลงจอดฉุกเฉินกลางทุ่งนา ม.6 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เนื่องจากเกิดลมแรงทัศนวิสัยไม่อำนวย ก่อนบินกลับฐานโดยไม่ได้รับความเสียหาย





24 ธ.ค.58 ป.ป.ช. ยกคำร้องถอดถอน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ กรณีละเว้นหน้าที่ ปล่อยให้กองทัพบกจัดซื้อเรือเหาะในราคาสูงเกินจริง เหตุการณ์การจัดซื้อก่อนที่นายสุเทพเข้ารับตำแหน่ง-ซื้อด้วยวิธีพิเศษ

14 ก.ย.60 พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ปลดประจำการเรือเหาะตรวจการณ์หลังใช้งาน 8 ปี และไม่มีแผนจัดซื้อใหม่.

ooo




ooo


ooo