วันศุกร์, มกราคม 23, 2558

สื่อนอกตีข่าว...Impeached ex-Thai PM decries 'death of democracy'

Ousted Thai prime minister Yingluck Shinawatra faces impeachment proceedings by the military-stacked National Legislative Assembly (NLA) at the parliament in Bangkok on January 22, 2015 ©Pornchai Kittiwongsakul (AFP)

Source: AFP/Daily Mail
PUBLISHED: 06:03 EST, 23 January 2015

Embattled former prime minister Yingluck Shinawatra decried the "death of democracy" in Thailand Friday after the junta-stacked parliament impeached her and prosecutors announced corruption charges that could see her jailed.

The successful impeachment of Yingluck, the kingdom's first female premier and the sister of former leader Thaksin Shinawatra, carries an automatic five-year ban from politics, while the criminal charges could see her sentenced to a decade in prison.

She swiftly denounced the decisions as an assault on democracy and vowed to fight the new corruption charges.

"Democracy has died in Thailand today, along with the rule of law. That move to destroy me is still ongoing and I face it now," she said in a statement published on Facebook after plans to hold a press conference were called off on the advice of junta officials.

Experts say the impeachment and criminal charges are the latest attempt by the country's royalist elite, and its army backers, to nullify the political influence of the Shinawatras, whose parties have won every election since 2001.

But the junta's pursuit of the family could also disturb the uneasy calm that has descended on Thailand since the military took over.

The Shinawatras' 'Red Shirt' supporters, who have lain low since the coup, were enraged by the twin decisions -- but leaders warned against widespread street protests in a country where political gatherings are banned under martial law.

"Today's impeachment is the highest provocation, aimed at encouraging the Red Shirts to come out so they (the government) can shift the blame for all their failures onto the Red Shirts," Jatuporn Prompan, the movement's leader, told viewers on his Peace TV programme.

Both the impeachment and corruption charges revolve around her administration's controversial rice subsidy programme, which funnelled cash to her rural base but cost billions of dollars, and inspired protests that felled her government and led to a military takeover in May.

"The primary aim is to prevent her and the Shinawatras returning to politics should the military be forced to step down and call an election. They simply cannot compete when it comes to electoral politics," Pavin Chachavalpongpun, a Thai academic at Kyoto University, told AFP.

- Loved and loathed -

Both Thaksin and Yingluck are loathed by many Thais in the upper and middle classes but still command huge loyalty from much of the rural poor, particularly in the Shinawatras' northern strongholds, where rice farming is a mainstay of the local economy.

The rice subsidy scheme, which purchased the crop from farmers at around twice the market rate, was hugely popular among the Shinawatras' vote base but economically disastrous.

Prosecutors had spent months deciding whether Yingluck should face separate criminal corruption charges over the scheme with the Office of the Attorney General finally confirming Friday that an indictment for negligence would be handed down in early March.

During the impeachment hearings Yingluck defended the rice scheme as a necessary subsidy to help poor farmers who historically receive a disproportionately small slice of government cash.

She also attacked the legality of impeaching her from a position from which she had already been removed.

Analysts said it was always unlikely that the parliament -- which is stacked with junta appointees -- would save Yingluck's political career.

And while imminent street protests are unlikely, observers say the moves against Yingluck will do little to foster the kind of political reconciliation the military claims it is seeking.

"In the medium to longer term, the grievances within the Yingluck/Thaksin side will accumulate and become more virulent when they eventually surface," Thitinan Pongsudhirak, director of the Institute of Security and International Studies at Bangkok's Chulalongkorn University, told AFP.

"Little by little, the move could crystallise into a willingness by Red Shirts to demonstrate," added Paul Chambers, a specialist on Thai politics at Chiang Mai University.

Since Thaksin swept to power in 2001, Shinawatra governments have been floored by two coups and the removal of three other premiers by the kingdom's interventionist courts.


Yingluck Shinawatra
Ousted Thai prime minister Yingluck Shinawatra (C) receives roses from her supporters after facing impeachment proceedings by the military-stacked National Legislative Assembly (NLA) at the parliament in Bangkok on January 22, 2015 ©Pornchai Kittiwongsakul (AFP)


Thai junta leader, Prayut Chan-O-Cha, pictured at the Government House in Bangkok, on December 19, 2014 ©Pornchai Kittiwongsakul (Pool/AFP/File)
Thai soldiers keep watch as members of the National Legislative Assembly (NLA) take part in a vote to impeach ousted Thai prime minister Yingluck Shinawatra at the parliament in Bangkok on January 23, 2015 ©Pornchai Kittiwongsakul (AFP)
ooo

คำแถลง นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 28
23 มกราคม 2558



เรียน พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน

เป็นไปตามความคาดหมาย ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติ ถอดถอนดิฉันออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี และอัยการสูงสุดได้สั่งฟ้องดิฉัน ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ดิฉันขอแถลงดังนี้

ดิฉัน ขอยืนยัน และมั่นใจในความบริสุทธิ์ของดิฉัน และขอขอบคุณเสียงส่วนน้อย ที่ยังคงยึดมั่นในหลักการ และความเที่ยงธรรม ซึ่งในกระบวนการต่างๆ ได้ริดรอน และตัดสิทธิขั้นพื้นฐานของดิฉัน ในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่พึงได้รับ

ดิฉันขอยืนยันว่า โครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่ดี ไม่ได้สร้างความเสียหายแต่อย่างใด สำหรับตัวเลขความเสียหาย ที่พยายามจะยัดเยียดให้ดิฉันนั้น ก็เป็นเพราะความมีอคติต่อตัวดิฉัน และนำชาวนามาเป็นเครื่องมือ ในการทำลายล้างทางการเมือง

ดังที่ดิฉัน ได้เคยกล่าวถึงความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 ณ เมืองอูลัน บาตอ ประเทศมองโกเลียว่า “ดิฉันนั้นต้องการเห็น ความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทย และประชาธิปไตยของไทย พัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยหลักนิติธรรม และกระบวนการทางกฎหมายที่แข็งแรง มีขั้นตอนที่ชัดเจน โปร่งใส และเมื่อนั้น ทุกคนจะสามารถมั่นใจได้ว่า เขา จะได้รับการดูแลที่ยุติธรรม”

ดิฉันยังคงยืนยัน ในคำพูดดังกล่าว แม้ว่าวันนี้ ประชาธิปไตยไทยได้ตายไปแล้วพร้อมกับหลักนิติธรรม แต่ขบวนการทำลายล้าง ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังที่ดิฉันได้ประสบอยู่ขณะนี้

เป็นที่น่าเสียใจ และเป็นเรื่องที่ไม่อยากจะเชื่อว่า มีเหตุการณ์บังเอิญต่างๆมากมาย ตามที่ดิฉันได้แถลงปิดสำนวนไปเมื่อวานนี้ และเป็นการบังเอิญ ที่ไม่ใช่ความบังเอิญ อีกครั้งหนึ่ง คือก่อนเวลาที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะเริ่มลงมติถอดถอน เพียง 1 ชั่วโมง อัยการสูงสุด ก็ได้แถลงสั่งฟ้องดิฉัน ในข้อหาละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ก่อให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ทั้งๆ ที่ หัวหน้าคณะผู้แทนอัยการสูงสุด ยืนยันว่า ยังต้องพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ของคดีต่อไป

องค์กรอัยการ ซึ่งเป็นองค์กรที่สร้างความน่าเชื่อถือ ในกระบวนการยุติธรรมมายาวนาน กลับต้องถูก ตั้งข้อสงสัย ในประเด็นนี้ค่ะ

ทั้งนี้การปฏิบัติหน้าที่ของดิฉัน ในฐานะนายกรัฐมนตรี ตลอดระยะเวลา 2 ปี 9 เดือน 2 วัน นั้น ดิฉันตั้งใจทำงานด้วยความทุ่มเท ที่จะแก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม อย่างไม่เลือกปฎิบัติ และดิฉันภูมิใจ ที่ช่วงหนึ่งในชีวิต ได้ทำให้พี่น้องชาวนา และคนยากจน ได้ลืมตา อ้าปาก และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แม้ในวันนี้ ดิฉัน ไม่มีตำแหน่งอะไรเหลืออยู่แล้ว ยังคงเหลือแต่ คดีความ ที่ถูกยัดเยียดไว้ให้ ที่ต้องไปสู้คดีในชั้นศาลต่อไป

คำว่าความปรองดอง จะเกิดขึ้นได้ ต้องไม่ใช่การไล่ล่าคนใดคนหนึ่ง แต่หมายถึงความเป็นกลาง ที่ต้องอำนวยความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย เมื่อความเป็นธรรมเกิด ความยุติธรรมก็จะตามมา การยอมรับ ความสงบ ความสามัคคีก็จะมีขึ้นในสังคมไทย

เพราะเราเป็นคนไทยเหมือนกัน แทนที่เราจะหันหน้าเข้าหากัน แล้วร่วมกันทำให้ประเทศของเราเข้มแข็ง แต่กลับสร้างความจงเกลียดจงชังให้แก่กัน ไล่ล่าเพื่อให้ไม่มีที่ยืน สุดท้ายคนที่เสียหายก็คือประเทศของเรา

ดิฉันรันทดใจ ไม่ใช่เพราะดิฉันถูกกลั่นแกล้ง และประสบชะตากรรมที่ไม่เป็นธรรม แต่ดิฉันเสียใจแทนชาวนา และประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ที่ต้องสูญเสียโอกาส ต้องกลับไปอยู่ในวังวน ของความยากจน มีหนี้สิน ถูกเอารัดเอาเปรียบ และสูญเสียความเป็นประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน ตลอดจน กฎหมายถูกบิดเบือน

สุดท้ายนี้ ดิฉันก็หวังว่า ผู้ที่เป็นฝ่ายอำนวยความยุติธรรมของประเทศ จะไม่ปล่อยให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่รักษากติกาประชาธิปไตย และไม่รักษา หลักนิติรัฐ นิติธรรม มาชี้นำใดใดอีก ดังที่มีนักวิชาการกล่าวว่า “ไม่มียิ่งลักษณ์ คนไทยยังอยู่กันได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ถ้าไม่มีความยุติธรรมหลงเหลืออยู่ ในระบบการปกครองของไทยแล้ว คงไม่มีใครอยู่ได้”

อย่างไรก็ตาม ดิฉันขอยืนยันว่า ดิฉันจะต่อสู้จนถึงที่สุด เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของดิฉันไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร และที่สำคัญ คือ ดิฉัน จะขอยืนหยัด อยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชนคนไทย เราต้องร่วมกันนำความเจริญก้าวหน้า มาสู่ประเทศ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยของเรากลับคืนมา และสร้างความเป็นธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างแท้จริง
ooo


รบ.ทหารมุ่ง “แก้แค้น ไม่ได้คิดแก้ไข” ปฏิกิริยาสื่อนอกอย่าง Bloomberg นักวิชาการให้สัมภาษณ์ ว่าไม่ต้องตกใจ การถอดถอนยิ่งลักษณ์เป็นแค่ “side-show” เป็น “การแสดงคั่นรายการ” เท่านั้นเอง รอให้เขาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก่อน “นอกจากพรรคทักษิณจะไม่ได้เกิดแล้ว พรรคการเมืองใหญ่ตายหมด ไม่มีบทบาทสำคัญอีกต่อไป” (http://bloom.bg/1unKWcC)

ส่วน William Pesek เขียนดีมาก การถอดถอนครั้งนี้เป็นไปเพื่อ “ตอบสนองความใคร่” ของพลพรรคนกหวีดเสื้อเหลืองที่สนับสนุนรัฐประหารเท่านั้นเอง และที่ผ่านมาทหารเหล่านี้นอกจากย่ำอยู่กับที่ด้วยนโยบายประชานิยมแบบลดแลกแจกแถม ยังมุ่งล้างแค้นที่ “ตัวบุคคล” แทนที่จะหาทางแก้ไขด้วยการขจัด “นโยบาย” ที่ไม่เป็นประโยชน์หรือไม่มีประสิทธิภาพ ผลก็คือ ภายในปีเดียวนักลงทุนขนเงินออกไปเกือบสองพันล้านเหรียญ Samsung ซึ่งเดิมจะมาตั้งโรงงานสามพันล้านเหรียญที่ไทย ก็เปลี่ยนไปเป็นเวียดนามแทน

Pesek วิจารณ์ต่อไปว่าที่ผ่านมา ไทยไม่ลงทุน R&D เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเลย ผลน่ะหรือ? อันดับ Global Competitiveness Index ของเราหล่นจากที่ 33 เมื่อปี 2550 ลงมาอยู่ที่ 67 ในปีที่ผ่านมา ล้าหลังกว่ามาเลย์ สิงคโปร์หลายขุม และบอกว่าคนไทยรอให้ทหารสับขาหลอก เลื่อนเลือกตั้งออกไปอีกแปดเดือนไม่ได้แล้ว ในภูมิภาคเขามุ่งไปแนวทางประชาธิปไตยหมด อินโดฯ ฟิลิปปินส์ และมุ่งขจัดการคอร์รัปชัน ยกเลิกนโยบายแจกเงินอุดหนุน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เศรษฐกิจแข่งขันได้

http://www.bloombergview.com/…/thailand-coup-leaders-need-t…

Pipob Udomittipong