วันพฤหัสบดี, มีนาคม 26, 2558

รัฐบาลสหรัฐและภาคธุรกิจเรียกร้องไทยปราบปรามการใช้แรงงานทาสบนเรือประมง รองนายกรัฐมนตรียืนยันไม่มีเรือไทยใช้แรงงานทาส ขณะที่นายกสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยเผยคนไทยร่วมหุ้นอินโดฯ ทำประมงด้วยกัน + คลิปข่าว 3 มิติ | คุกขังแรงงานประมงที่เกาะเบนจินา, ความเคลื่อนไหวญาติลูกเรือไทย | 23-03-58



ที่มา BBC Thai

รัฐบาลสหรัฐและภาคธุรกิจเรียกร้องไทยปราบปรามการใช้แรงงานทาสบนเรือประมง ด้านรองนายกรัฐมนตรียืนยันไม่มีเรือไทยใช้แรงงานทาส ขณะที่นายกสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยเผยคนไทยร่วมหุ้นอินโดฯ ทำประมงด้วยกัน

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า รัฐบาลสหรัฐ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารทะเลและค้าปลีกเรียกร้องไทยให้ดำเนินการดังกล่าวและลงโทษผู้ที่บังคับใช้แรงงานข้ามชาติในการทำประมงที่อาจส่งไปขายยังสหรัฐ หลังจากที่เอพีเผยแพร่รายงานข่าวสืบสวนพบว่ามีการใช้แรงงานประมงเยี่ยงทาส ในการจับปลาที่ส่งไปขายยังเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ร้านอาหารและแม้กระทั่งร้านขายสัตว์ในสหรัฐ


รายงานของเอพีชี้ว่ามีแรงงานชายหลายร้อยคนติดอยู่บนเกาะเบนจินาซึ่งเป็นเกาะห่างไกล และจากการสัมภาษณ์แรงงานที่ถูกกักขังพบว่าต้องทำงานวันละ 22 ชม. ในสภาพความเป็นอยู่เลวร้าย และถูกทำร้ายทุบตี

นางเจน ซากี โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่ามีข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นว่าแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ ถูกกดขี่ข่มเหงในหลายส่วนตั้งแต่ในเรือประมงไปจนถึงโรงงานแปรรูปอาหารทะเล

เอพีรายงานด้วยว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐขึ้นบัญชีดำไทยเมื่อปีที่แล้วเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำในการปราบปรามการค้ามนุษย์ได้

ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธในวันนี้ว่าไม่มีการใช้แรงงานทาสในเรือประมงที่ชักธงไทย และว่าปัญหาเกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย

นายวิริยะ ศิริชัยเอกวัฒน์ นายกสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทย เปิดเผยว่ามีเรือ 123 ลำที่จอดอยู่ที่อินโดนีเซียเพราะมีปัญหาในการทำประมง เรือดังกล่าวเป็นของผู้ประกอบการอินโดนีเซียที่ร่วมหุ้นกับอดีตเจ้าของเรือไทย เดิมทีมีเรือที่ชักธงไทยเข้าไปทำประมงในอินโดนีเซีย แต่อินโดนีเซียเปลี่ยนกฎให้ต้องใช้เรือประมงอินโดนีเซียเท่านั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องขายเรือและเข้าไปถือหุ้นร่วมทุนกับอินโดนีเซีย

นายวิริยะกล่าวว่าแม้เรือดังกล่าวจะเป็นเรืออินโดนีเซียแต่ในการซ่อมบำรุงจะนำกลับมาซ่อมในประเทศไทย เพราะไทยมีขีดความสามารถมากกว่า

อีกด้านหนึ่ง ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยกำหนดบทลงโทษที่หนักขึ้นสำหรับผู้ละเมิดกฎหมายปราบปรามการค้ามนุษย์ ผู้ใดที่เป็นต้นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตในกระบวนการค้ามนุษย์อาจถูกลงโทษประหารชีวิต และผู้ที่เป็นต้นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสอาจได้รับโทษสูงสุดถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 4 แสนบาท

(ภาพแรงงานชาวพม่าในที่คุมขังบนเกาะเบนจินา เมื่อเดือน พ.ย.2557 )
ooo

ข่าว 3 มิติ | คุกขังแรงงานประมงที่เกาะเบนจินา, ความเคลื่อนไหวญาติลูกเรือไทย | 23-03-58
https://www.youtube.com/watch?v=YUnT_gWABf4#t=39

"เป็นเรื่อง''' คอร์ลั้ม Bloomberg Business
สื่อต่างชาติ ตีข่าวประยุทธ์ฉุนนักข่าวฐาปณีย์
พร้อมห้ามเสนอข่าวปมคดีแรงงานไทย
โดนขังคุกบนเกาะเบนจิมาในอิโดนีเซีย
ออกสู่สาธารณะ ... อ้างไทยจะขายปลาไม่ได้
https://www.youtube.com/watch?v=YUnT_gWABf4#t=39

Credit Thai Free News
...

"สังคมไทยต้องการนักข่าวอย่างฐปนีย์ ถ้าการพูดความจริงสร้างปัญหาให้รัฐ ถ้าการช่วยคนงานที่ถูกซ้อมและทารุณสร้างปัญหาให้มหาเศรษฐีในธุรกิจประมง นั่นก็เป็นเรื่องที่รัฐและนายทุนในธุรกิจนี้ต้องรับผิดชอบกับการใช้แรงงานทาสให้ได้ อย่าทำเหมือนสื่อมีหน้าที่รายงานเท็จและคนงานมีหน้าที่เป็นแรงงานทาสเพื่อหน้าตาและกระเป๋าเงินของทุนประมงไม่กี่คน เพราะผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่ผลประโยชน์ของคนทุกคน Sompong Srakaew"

Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

http://news.voicetv.co.th/thailand/184221.html

ooo

Mar. 25, 2015: U.S. Department of State Daily Press Briefing by Spokesperson Jen Psaki in Washington, DC.
http://video.state.gov/en/video/4134213083001/daily-press-briefing-march-25-2015/s~creationDate/p~1/

Thailand starts at 59:23 minutes.

QUESTION: I have a couple of boutique issues, if you will.

MS. PSAKI: Oh, okay.

QUESTION: One – and I sent some queries around, so maybe you have that.

MS. PSAKI: Sure. Hopefully I have information you’re looking for.

QUESTION: One, we had a long investigation regarding slave labor in Thai seafood industry, including products that make their way into the U.S. market.

MS. PSAKI: Yeah, I saw that report.

QUESTION: Do you have any comment on this? Is this something, one, you’re pressing the Thais to improve labor standards; two, working with industry to ensure cleanliness, let’s say, in the supply chain?

MS. PSAKI: Mm-hmm. Well, the Secretary and the State Department are deeply concerned about human trafficking in the seafood sector and aquaculture operations globally. It has become increasingly clear that workers in the fishing industry, many of whom are migrants, are exploited at multiple points along the supply chain from harvesting to processing. And I think your story, or the AP story, referenced some of this. The Trafficking in Persons Report from 2014, as well as previous reports, have long identified the problem of forced labor in the fishing industry around the world. And a significant – as it relates to Thailand, a significant portion – proportion of trafficking victims are found in the seafood industry. So for several years, the international community, including the United States, has expressed concern publicly – also directly, of course – over the forced labor of foreign migrants in the Thai fishing and on-land seafood industries. And we continue to call on the Thai Government to take significantly greater steps to protect foreign migrants in the fishing and shrimp industries and to punish those who are enslaving workers.

QUESTION: Yeah, is this something that might come up in the trans-Pacific trade talks that are ongoing, the standards for labor rights within the seafood sector?

MS. PSAKI: I’d have to check on that level of specificity, Brad.

QUESTION: And then has there been any talk, given not just this report but ongoing concerns by others and human rights reports about the role of forced or indentured servitude in the Thai industry, about lowering the Thai’s rating in terms of protection of labor rights?

MS. PSAKI: Well, I think, Brad, as you know, we don’t make predictions like that. We do note concerns where we have them, and certainly the issue of fishing practices – excuse me – in Thailand has been noted in previous reports.