วันพุธ, เมษายน 22, 2558

หนี้ครัวเรือนทุบตลาดบ้าน-รถซึม แบงก์ผวาNPLปฏิเสธให้กู้พุ่ง40% - Thailand’s credit binge: now for the hangover



ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

สถาบันการเงินขยาดหนี้เน่า ดันยอดปฏิเสธกู้ "รถ-บ้าน"พุ่ง 30-40% เหตุปัญหา "หนี้ครัวเรือน" กระทบรถ-คอนโดฯขายไม่ออก "เคลีสซิ่ง" เจรจาค่ายรถร่วมรับความเสี่ยงหนี้เสีย สมาคมอสังหาฯหวั่นปัญหากู้ไม่ผ่านลากยาวฉุดตลาดถึงปีหน้า

หนี้ครัวเรือนค้ำคอฉุดตลาดรถ

นาย สุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด หรือเคลีสซิ่ง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากตัวเลขยอดขายรถยนต์ 2 เดือนแรกที่ยังต่ำกว่าปีที่แล้วประมาณ 13% ทำให้มีโอกาสที่ยอดขายรถยนต์ในปี 2558 จะเติบโตต่ำกว่าปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ 880,000 คัน ผลจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงถึง 85.9% ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน ส่งผลให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งยังคาดการณ์ว่าปลายปีนี้หนี้ครัวเรือนจะพุ่งไปถึง 89% ในส่วน ของบริษัทยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สินเชื่อรถยนต์เติบโตต่ำกว่าเป้า ขณะที่ยอดปฏิเสธสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นมาก ขยับมาอยู่ที่ระดับ 30%

เหตุผลหลักจากปัญหาหนี้ต่อรายได้ของลูกค้าที่อยู่ในระดับสูงมาก โดยกลุ่มที่มีปัญหามากจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร ที่มีรายได้ไม่แน่นอน โดยเกณฑ์หนี้ต่อรายได้ที่บริษัทใช้คำนวณจะแปรผันตามรายได้ เช่น รายได้ 20,000 บาทต่อเดือน ต้องมีหนี้ไม่เกิน 40% หรือรายได้ 30,000-50,000 บาท ต้องมีหนี้ไม่เกิน 50% เป็นต้น ถ้าลูกค้ามีหนี้มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดนี้ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดหนี้เสียสูง

"โครงการรถคันแรก ส่งผลให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น และคาดว่าพิษรถคันแรกอาจต้องใช้เวลาอีก 2 ปี กว่าจะหมด ขณะที่ยอดการปฏิเสธสินเชื่อจะยังไม่สามารถแก้ได้ในเวลาสั้น ๆ เพราะตอนนี้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นชัดเจนนัก รายได้คนก็ลดลง ส่วนหนี้ก็ยังเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินก็ต้องระมัดระวังตัว เพื่อไม่ให้หนี้เสียเพิ่มขึ้น"

ลีสซิ่งผนึกค่ายรถร่วมมือเชิงลึก

นายสุรัตน์กล่าวว่า ผลกระทบดังกล่าวทำให้ปีนี้สินเชื่อเช่าซื้อรถอาจไม่เติบโต บริษัทจึงต้องเร่งปรับตัวเพื่อหวังรักษาระดับผลตอบแทน โดยปัจจุบันบริษัทมียอดสินเชื่อคงค้างรวม 89,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อรถยนต์ป้ายแดง 55% สินเชื่อสำหรับผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ (ฟอร์แพลน) 12% สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ไว้ใช้ในกิจการ (ฟลีต) 22% สินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์ 11% โดยปีนี้บริษัทตั้งเป้าเติบโตสินเชื่อคงค้างเพียง 1.8% ซึ่งจะเน้นการเติบโตในส่วนรถฟลีต และรีไฟแนนซ์มากขึ้น

โดยปัจจุบัน เอ็นพีแอลของบริษัทอยู่ที่ระดับ 1.2% เพิ่มขึ้นราว 30% จากสิ้นปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ 0.8% ขณะที่เอ็นพีแอลของลีสซิ่งทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 3% ซึ่งปัญหาเอ็นพีแอลจะยังคงกดดันสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจเช่าซื้อไปอีกสักระยะ ซึ่งหวังว่าจะถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางปีนี้ หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น

นายสุรัตน์กล่าวว่า ตัวเลขการปฏิเสธสินเชื่อที่สูงขึ้น ทำให้บริษัทลีสซิ่งกับค่ายรถยนต์ต้องมีการหารือและความร่วมมือเชิงลึกมาก ขึ้น ทั้งการแชร์ข้อมูลซึ่งกัน เพื่อวางแผนทำโครงการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนแคมเปญ 0% หรือรูปแบบใหม่ ๆ เช่น การเหมาจ่ายส่วนเกินของยอดอนุมัติ คือ เดิมสัดส่วนอนุมัติที่ระดับ 70% ค่ายรถยนต์ต้องการให้อนุมัติเพิ่มขึ้นที่ระดับ 80% ค่ายรถก็ยอมจ่ายเงินพิเศษให้บริษัทเช่าซื้อ สำหรับส่วนเกินคันละ 3,000-4,000 บาท เป็นต้น ซึ่งตอนนี้เริ่มเห็นแล้ว ถือว่าเป็นการแข่งขันระหว่างค่ายรถยนต์เองเพื่อกระตุ้นยอดขายให้เติบโตขึ้น

"นอกเหนือจากการช่วยเรื่องเงินดาวน์หรือดอกเบี้ยเหมือนเมื่อก่อนเราอยากเห็นการขยับเข้ามาร่วมรับความเสี่ยงร่วมกันมากกว่าเพราะปัญหาตอนนี้คือความสามารถลูกค้าด้อยลง บริษัทเช่าซื้อจึงระวังตัว ดังนั้นแทนที่จะลดราคาให้ลูกค้า ซึ่งก็ไม่ทำให้ลูกค้าซื้อรถหรือเข้าถึงสินเชื่อได้ จึงน่าจะนำเงินส่วนนั้นมาดูแลหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกันดีกว่า เพราะปีนี้ปัญหาหนี้เสียก็น่าจะยังเป็นประเด็นที่กดดันทุกคน"

นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทิสโก้ กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมายอดการปฏิเสธสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ ระดับ 15-20% สาเหตุหลักจากรายได้ของลูกค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ธนาคารตั้งไว้ เช่น ธนาคารตั้งเงื่อนไขว่าลูกค้าจะต้องมีรายได้มากกว่าค่างวด 2-2.5 เท่า แต่ปัจจุบันลูกค้าก็มีรายได้ไม่เพียงพอ เพราะภาระหนี้ต่อครัวเรือนในระดับสูง ซึ่งส่วนใหญ่รถเก๋งจะถูกปฏิเสธมากกว่ารถกระบะ

"สถานการณ์โดยรวมของ ธุรกิจเช่าซื้อยังทรงตัว แต่ในส่วนของธนาคารจะใช้จุดแข็งที่มี Captive Finance ของค่ายรถเป็นพันธมิตร จึงทำให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงกับผลตอบแทนได้ดี โดยหากความเสี่ยงสูงอัตราผลตอบแทนก็ควรสูงขึ้น สมมุติ เอ็นพีแอลมีโอกาสเกิดขึ้น 2% จะคิดอัตราดอกเบี้ย 5.5% แต่ถ้าเอ็นพีแอลมีโอกาสเกิดได้ 3% ก็จะคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 6% ทำให้สามารถอนุมัติสินเชื่อได้มากขึ้น การร่วมมือกับพันธมิตรดังกล่าวไม่ใช่แค่การทำแคมเปญทางการตลาดร่วมกัน แต่เป็นการดูแลเป็นแพ็กเกจ"

แบงก์ชะลอปล่อยเช่าซื้อรถ

ขณะ ที่นายอนุชาติ ดีประเสริฐ ประธานสมาคมเช่าซื้อไทย กล่าวว่า ยอดการปฏิเสธสินเชื่อเช่าซื้อทั้งระบบปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับประมาณ 15-20% จากช่วงปลายปี 2556 อยู่ที่ระดับไม่ถึง 10% หรือแทบจะไม่มี เนื่องจากรถยนต์เป็นสินทรัพย์ที่ซื้อง่ายขายคล่อง และสาเหตุเป็นผลจากสถาบันการเงินต้องการดูแลเรื่องคุณภาพลูกหนี้มากขึ้น และการปฏิเสธสินเชื่อมีทั้งการปฏิเสธ

จากกรณีลูกค้าที่มีความสามารถ และการปฏิเสธแบบเพิ่มเงื่อนไข เช่นเพิ่มเงินดาวน์ขั้นต่ำจาก 10% เป็น 15-20% เพิ่มระยะเวลาการผ่อนค่างวดจาก 5 ปี เป็น 7 ปี หรือมีคนค้ำประกัน อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นค่ายรถยนต์และบริษัทไฟแนนซ์เข้ามาเจรจาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวร่วม กันมากขึ้น โดยการพูดคุยถึงเหตุผลในการปฏิเสธสินเชื่อ ข้อมูลเอ็นพีแอล ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องรายได้ของลูกค้า เป็นต้น

ด้านนายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แนวโน้มสินเชื่อไตรมาส 1/58 มีทิศทางเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยธนาคารยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อทั้งปีที่ 5-7% จากการขยายตัวของสินเชื่อรายใหญ่ รายย่อย และสินเชื่อเอสเอ็มอี แต่ยอมรับว่าให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพหนี้มากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อที่ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นมากนัก ทำให้ธนาคารชะลอการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

ยอดปฏิเสธกู้บ้านแตะ 40%

นางสาวอรอนงค์ อุดมก้านตรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจรายย่อย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า การขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบในปีนี้น่าจะเติบโตได้ไม่ถึง ระดับ 5-6% สาเหตุหลักจากปัญหาหนี้ต่อครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงมาก แถมเศรษฐกิจยังเติบโตไม่ชัดเจน

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีจำนวนลูกค้าเข้ามาขอสินเชื่อไม่ได้ปรับตัวลดลง แต่ถูกปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้นจากระดับ 30% ของจำนวนใบคำขอ ขยับมาอยู่ที่ 35-40% และกว่า 80% ของจำนวนคำขอที่ถูกปฏิเสธเกิดจากภาระหนี้ของลูกค้าอยู่ในระดับสูงมากส่งผลให้ยอดการเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารปรับตัวลดลงตามจากปีก่อนสามารถปล่อยสินเชื่อได้เกือบ2,000ล้านบาทต่อเดือน ปัจจุบันปล่อยได้แค่ประมาณ 1,000 ล้านกว่าบาทต่อเดือน หรือปรับลดลงเกือบเท่าตัว

"แบงก์ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมาก ขึ้น แต่ไม่ได้เข้มงวด แต่ที่ลูกค้าถูกปฏิเสธก็เพราะมีหนี้ต่อรายได้สูงมาก บางคนหนี้สูงถึง 70-80% ของรายได้"

นายทวี ธีระสุนทรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมาเติบโตจากปีก่อนเพียง 1% เท่านั้น เพราะลูกค้าประสบปัญหาหนี้ครัวเรือนสะสม โดยตั้งแต่ต้นปียอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ระดับ 30-40% และในอนาคตก็ยังมีโอกาสขยับตัวขึ้นอีก เพราะระดับหนี้ครัวเรือนก็ยังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในส่วนของธนาคารก็ต้องระมัดระวังตัว โดยเลือกกลุ่มลูกค้าที่ยังพอมี ความสามารถในการขอสินเชื่อและชำระหนี้ได้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 40,000-50,000 บาทต่อเดือน และกู้ซื้อบ้านตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป และต้องซื้อที่อยู่อาศัยกับโครงการที่มีชื่อเสียง

อสังหาฯหวั่นปัญหาลากถึงปีหน้า

นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ไตรมาส 1/58 ประเมินภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีปัญหาลูกค้ากู้ไม่ผ่านเพิ่มขึ้นจากค่า เฉลี่ยปี 2557 อยู่ที่กว่า 20% ไตรมาสแรกปีนี้ขยับขึ้นมาอยู่ที่กว่า 30%

ปัจจัย หลักมาจาก 2 ส่วนคือ 1.ปัญหาหนี้สินครัวเรือนสูงมาก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ซื้อบ้าน-คอนโดมิเนียมราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท มีทั้งหนี้ผ่อนรถ หนี้บัตรเครดิต ประกอบกับผู้กู้บางรายถูกตัดค่าโอที ทำให้รายได้ลดลง โอกาสกู้ผ่านก็ยากขึ้น 2.สถาบันการเงินเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเข้มงวดเกินไปจะกลายเป็นอุปสรรค เพราะผู้ประกอบการต้องนำโปรดักต์กลับมาขายใหม่อยู่เรื่อย ๆ

นายพร นริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า กลุ่มที่มีภาระหนี้สูงและกู้ไม่ผ่าน ส่วนใหญ่คือกลุ่มที่ซื้อคอนโดฯราคา 1 ล้านบาทต้นๆ ปัญหาเกิดจากมีหนี้บัตรเดรดิตหรือหนี้ผ่อนรถ บางรายเคยถูกยึดรถมาก่อน ทำให้ติดบัญชีรายชื่อเครดิตบูโร สถาบันการเงินจึงไม่อนุมัติสินเชื่อ มองว่าจะเป็นปัญหาไปถึงสิ้นปีนี้หรืออาจต่อเนื่องถึงปีหน้า เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจไม่น่าจะฟื้นตัวเร็ว คนยังเป็นหนี้ในระดับสูงอยู่

อย่างไรก็ตาม เข้าใจเจตนาของสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่ออย่างรัดกุม แต่ถ้าเข้มงวดเกินไปก็จะเกิดผลกระทบกับประชาชนที่จำเป็นต้องซื้อที่อยู่ อาศัยจริง ๆ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการปรับตัวด้วยการขอเอกสารแสดงรายได้หลังวางเงินจอง เพื่อทำพรีแอปพรูฟสถานะการเงินเบื้องต้น หากมีแนวโน้มกู้ไม่ผ่านก็จะคืนเงินจองให้ลูกค้า ปัจจุบันลูกค้าที่พรีแอปพรูฟและกู้ไม่ผ่านมีสัดส่วนรวมกัน 20-25%

ที่มา
ประชาชาตฺธุรกิจออนไลน์

ooo



Source: Financial Time

A Thai saying cautions against “borrowing from grandmother to buy her sweets”. But so heavily have the country’s households borrowed that buying confectionary is the least of their worries. One of the biggest consumer credit binges in the emerging world is now showing signs of unravelling, with potentially severe consequences for Thailand’s retail sector.

How severe will the hangover be for southeast Asia’s second largest economy? This depends in part on whether the economy can recover its mojo and grow its way to deleveraging. Since 2006, Thai GDP has managed only about half the pace of the Indonesian, Malaysian and Philippine economies.

But even if a modest growth resurgence does transpire, Thailand appears headed for a painful mix of depressed consumer spending and rising consumer debt. According to Asean Confidential, an FT research service on southeast Asia, Thai household debt will approach or exceed 100 per cent of GDP by 2020 under likely macroeconomic scenarios – and this does not include large amounts of borrowing from illegal money lenders by the poorest Thais.

A recent trend may signal peril ahead. Household debt levels are still rising (to an estimated 86 per cent of GDP, up from 61 per cent in 2009), but private consumption growth has started to ease (see chart).



This is significant because it suggests that families are having to deploy so much of their income to repay debts that they have less left over for retail indulgences. Indeed, in January and February personal spending fell on a month on month basis by 13 per cent and 8.5 per cent respectively, a bigger margin than seen at any time during the 2008/09 financial crisis or the 1997/98 Asian crisis, according Bank of Thailand statistics.

Some see dire consequences. Piyabutr Cholvijarn, president of the Kenan Institute Asia and director of the Thai Chamber of Commerce, warned in March that if the household debt issue was left unaddressed, a crisis worse than the 1997 meltdown could ensue.

However, stock market investors appear unperturbed for now, bidding up the Bangkok stock index by 4.2 per cent since the start of the year. A 25 basis point cut in the Bank of Thailand’s policy interest rate to 1.75 per cent in March is seen as too minor to meaningfully alleviate household debt burdens.

Asean Confidential’s surveys showed a slide in consumer confidence across the board during the first quarter in Thailand, with discretionary spending intentions and consumer borrowing plans both easing, along with a slump in people’s confidence over the health of the broader economy. Meanwhile, headline inflation has turned negative, to -0.57 per cent in March, exacerbating debt service costs.

Other risks complicate the outlook. Net capital outflows, which pummelled the country for 20 consecutive quarters from the onset of the Asian financial crisis in mid-1997, are again becoming a more common feature, hitting a total of $20.3bn in the second half of last year.

If the US Federal Reserve moves to guide interest rates higher in coming months, Thailand’s debt frailties could exacerbate such outflows as investors grow wary of the more indebted emerging markets. That could raise the cost of borrowing for financial institutions, reinforcing an already growing reluctance to extend credit to people who want to buy houses, cars and other items by gorging themselves on more debt.