วันเสาร์, ตุลาคม 24, 2558

ถามอะไร !ถามไม่สร้างสรรค์! คนแคนนาดาหรือปล่าว!!! อิอิ




https://www.youtube.com/watch?v=m7ZCd-qmd84

Trudeau: "We respect journalists in this country"

Wanchalearm Satsaksit shared CBC News's video.

"เฮ้! ในประเทศนี้เราเคารพนักข่าว พวกเขาถามคำถามยากๆ และนักข่าวควรทำอย่างนั้น" จัสติน ทรูโด ผู้นำพรรเสรีนิยมที่เพิ่งชนะการเลือกตั้ง ว่าที่นายกคนใหม่ของแคนาดา กล่าวกับผู้สนับสนุนของเขาที่โห่นักข่าวที่กำลังถามเกี่ยวกับสมาชิกพรรคเสรีนิยมที่ไปเกี่ยวข้องกับการล็อบบี้ของบริษัทน้ำมัน

คนแบบนี้เขารู้ไงว่าเป็นรัฐบาลต้องตอบคำถามทุกเรื่อง ประชาชนและนักข่าวมีสิทธิถามทุกอย่าง คนที่จะเป็นผู้นำรัฐบาลไม่มีสิทธิเหวี่ยงหรือโมโห มีแต่ต้องตอบคำถามเท่านั้น แต่นั่นล่ะวัฒนธรรมการเมืองของแคนาดา คนของเขาน่าจะได้รับการอบรมมาดีตั้งแต่ระดับนักการเมืองไปจนถึงประชาชน มันคือวัฒนธรรมการเมืองของประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนผู้นำรัฐบาลที่ด่านักข่าวไอ้ห่า ขู่ประหารชีวิตนักข่าว ด่าประชาชนว่าโง่ ก็คงไม่มี คงมีแต่ประเทศโลกที่สามเท่านั้นล่ะ ที่ผู้นำรัฐบาลจะกักขฬะหยาบคายโง่เง่าแค่ไหนก็ได้

Cr. Jang Senakul


ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

"มีชัย"อุ่นใจ"องคมนตรี"แนะ

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการกำหนดหมวดว่าด้วยหน้าที่ของรัฐไว้ในร่างรัฐธรรมนูญว่า เมื่อกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐก็จะเป็นสภาพบังคับให้รัฐต้องดำเนินการ เดิมทีได้เขียนไว้เป็นสิทธิของประชาชน เช่น การกำหนดให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากรัฐ แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีกฎเกณฑ์บังคับไว้ ดังนั้นหากเรื่องใดเป็นสิ่งที่แน่นอนว่า รัฐต้องทำ ก็จำเป็นต้องกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของรัฐ จะเป็นการเขียนในกรอบกว้างๆ ทั้งนี้ เมื่อเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องทำแล้วหากไม่ดำเนินการประชาชนก็สามารถฟ้องร้องให้รัฐดำเนินการได้ รวมทั้งรัฐสภาอาจหยิบยกเรื่องนี้มาอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ได้ หรือดีไม่ดีอาจมีความผิดทางอาญาได้

นายมีชัยยังกล่าวถึงข้อเสนอของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ในการเขียนข้อห้ามมิให้ผู้ที่พ้นโทษทางการเมือง 5 ปี กลับมาดำรงตำแหน่งอีก ว่าขณะนี้ กรธ.แต่ละคนอยู่ระหว่างการศึกษาความเห็นของนายธานินทร์ โดยข้อเสนอดังกล่าวตรงกับรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 35 ดังนั้นคงไม่มีปัญหาใด เพราะ กรธ.คงต้องบัญญัติไว้ โดยสิ่งนี้ทำให้ กรธ.รู้สึกอุ่นใจเนื่องจากผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองเห็นดีเห็นงามในการขจัดการทุจริต

กรธ.ผุดไอเดียองค์กรคุมสื่อ

นายนรชิตสิงหเสนีโฆษก กรธ. แถลงผลประชุม กรธ.ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 15.00 น. ถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยได้พิจารณาต่อในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ตั้งแต่มาตรา 43-49 โดยมีมาตราน่าสนใจ อาทิ มาตรา 45 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิบุคคลในการแสดงความคิดเห็น เพื่อประกอบการจัดทำนโยบายสาธารณะของรัฐ รวมถึงจัดทำร่างกฎหมาย กฎ หรืออื่นใดที่อาจเกิดผลกระทบกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่โดยปกติสุข มาตรา 46 ว่าด้วยการคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาของสื่อมวลชนตามจรรยาบรรณ

"การเขียนมาตรานี้ เรามองว่าสื่อมวลชนเดี๋ยวนี้เป็นง่าย เพียงเขียนข้อมูลลงในเฟซบุ๊กก็ได้ แล้วเช่นนี้จะมีการควบคุมดูแลอย่างไร โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้อยู่ในสมาคม หรือจะมีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาดูแล นอกจากนี้จะมีมาตรการจัดการอย่างไรกับสื่อมวลชนที่ทำผิด เช่น ถอดถอนหรือแทรกแซง ส่วนจะมีไลเซนส์สำหรับสื่อมวลชนหรือไม่นั้น เรายังไม่ได้หารือ" นายนรชิตกล่าว

ให้พรรคประกาศอุดมการณ์

นายนรชิตกล่าวว่า มาตรา 48 ว่าด้วยการคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่เสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำกัดได้ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้ การบัญญัตินี้มองจากปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตจึงมีการป้องกัน โดยต่อไปอาจมีการจำกัดช่วงเวลาการชุมนุมว่ากี่โมงถึงกี่โมง และเรื่องนี้ก็เป็นปกติของทั่วโลกที่ทำกัน ส่วนมาตรา 49 เป็นบทบัญัติว่าด้วยการคุ้มครองเสรีภาพรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง โดยต่อไปอาจจะต้องมีการประกาศอุดมการณ์นอกเหนือจากการประกาศแนวนโยบาย การพิจารณาของ กรธ.ขณะนี้ยังไม่ถือว่ายุติ ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะช่วงนี้ถือเป็นช่วงรับฟังความคิดเห็น

.........

ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราเขาก็ช่างห่วงใย ไม่ต้องตั้งองค์กรควบคุมสื่อให้วุ่นวายหรอกค่ะ แจกกะลาคนละใบก็พอแล้ว

พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen