วันจันทร์, มกราคม 23, 2560

ปรากฎการ Women's March 5 ล้านคนกับการเตรียมรับมือผลกระทบการเมืองทรัมป์ (ฉบับสั้นๆ) - Junya Yimprasert + ประท้วงทรัมป์เป็นสลิ่มไหม





ปรากฎการ Women's March 5 ล้านคนกับการเตรียมรับมือผลกระทบการเมืองทรัมป์ (ฉบับสั้นๆ)

เห็นกระแสจากเมืองไทยที่ดูเหมือนว่าจะดูแคลนขบวนการเคลื่อนไหวของผู็คนที่อเมริกาและในอีก 13-14 ประเทศ โดยอิงกับประสบการณ์อันเลวร้ายที่ต้องเห็นขบวนการรัฐสภาในประเทศไทย ถูกทำลายเพราะขบวนการรอยัลิสต์ ก็เข้าใจได้ในระดับหนึ่ง แต่ผมก็คิดว่าถ้าเรามองโดยคิดว่าคนที่เคลื่อนไหวต้านทรัมป์คือคนประเภทเดียวกับรอยัลลิสต์อภิสิทธชนไทย ผมว่ามันเป็นสมมติฐานที่ผิดพลาดตั้งแต่แรก

1. ทำความเข้าใจตั้งแต่แรกเลยว่า ขบวนการ Women's March ไม่อาจเปรียบเทียบได้กับขขบวนการพันธมิตรและกปปส ที่นำโดยผู้ชายเต็มไปด้วยอีโก้ ที่สนับสนุนโดยนักการเมืองผู้ชาย และอีลีตชนเก่าแก่ผู้ชาย ที่หลอกล่อมวลชนผู้หญิงให้ร่วมโค่นล้มกระบวนการเลือกตั้ง โดยการสร้างเงื่อนไข "ปกป้องสถาบันฯ" "รักในหลวง" และ "โค่นทักษิณไม่ว่าด้วยวิธีใด"

แต่ขบวนการ Women's March เป็นการต้องลุกขึ้นมาทำอะไร ของเฟมินิสต์ยุค 50 – 60 (ที่มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายหัวใจเฟมินิสต์) ที่ตระหนักว่าไม่อาจปล่อยให้การเมืองอเมริกันถูกปกครองโดยผู้ชายที่มีทัศนคติเหยียดเพศ เหยียดผิว เหยียดศาสนา เหยียดคนงานอพยพ และยังยัวยุและส่งเสริมความชอบธรรมให้ความคิดแบบ KKK คนขาวคลั่งที่ลุกขึ้นมาใช้กำลังจัดการกับคนดำในยุคต้นศตวรรษที่ 20 ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงคิดว่ามันจำเป็นจะต้องออกมาเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสียงบอกกับทรัมป์และชาวผิวขาวเป็นใหญ่ทั้งหลายให้เคารพสิทธิของผู้คนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมด้วย

2. ขบวนการรอยัลลิสต์ไทยใช้ยุทธวิธี Shutdown/ปิดประเทศ โดยมีเป้าหมายในการโค่นรัฐสภาของเครือข่ายตระกูลชินวัตร ที่มาจากการเลือกตั้ง "โค่นทักษิณ/ชินวัตรไม่ว่าจะต้องใช้ยุทธวิธีใด" นั้นหมายรวมถึงการสร้างความรุนแรง เพื่อเปิดพื้นที่ให้ทหารเข้ามายึดอำนาจในข้ออ้างว่า เพื่อยุติความรุนแรง

แต่การเคลือนไหวที่อเมริกานี้เป็นการ Countdown /นับถอยหลัง คำประกาศจุดยืนของขบวนการ Women's March ชัดเจนตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้าย ว่ายึดมั่นในหลักสันติวิธีและหลีกเลี่ยงความรุนแรงทุกรูปแบบ ทั้งนี้เมื่อเข้าไปดูเพจทางการของเครือข่าย Women's March ก็จะเห็นเจตนารมย์ชัดเจนว่าพวกเขาไม่ได้มุ่งชัดดาวน์เลือกตั้ง แต่ประกาศกับทรัมป์ว่า การบริหารของเขาจะถูกตรวจสอบจากผู้หญิง คนงานอพยพ คนยากจนที่จะสูญเสียสิทธิประโยชน์และได้รับความเดือดร้อน ถ้าการบริหารของทรัมป์ไม่คำนึงถึงผู้หญิง คนงานอพยพ คนเจ็บ คนพิการ คนชรา หรือคนยากคนจน ทรัมป์ก็จะถูกต่อต้าน/Resist อย่างจริงจัง คนที่ออกมาประท้วงทรัมป์ในวันแรกของการเขาทำเนียบ ก็เพื่อประกาศว่า พวกเขาเป็นคนมีตัวตน และจะเริ่มนับถอยหลังเวลาการบริหารงานของทรัมป์ทุกวันนับตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นสุดสมัย (ซึ่งนี่ไม่ใช่การปฏิเสธกระบวนการประชาธิปไตย แต่เป็นการแสดงจุดยืนการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย)

3. คนที่มีประสบการณ์การทำงานจัดตั้งมวลชนจะเห็นว่า มันไม่ง่ายที่จะจัดการประท้วงแล้วระดมคนได้อย่างมหาศาลในคราวเดียว ซึ่งการที่ในการจัดการประท้วงครั้งแรกของ Women's March มีคนเข้าร่วมรวมกันถึงกว่า 5 ล้านคน ทั้งจากอเมริกาและจากทั่วโลก เป็นประเด็นที่โลกต้องจับตามองจริงๆ ว่าเครือข่ายนี้สามารถดึงดูดผู้คนที่ในอเมริกาและทั่วโลกได้อย่างไรอย่างรวดเร็ว ถึงมีคนร่วมแสดงออกได้เยอะขนาดนี้ และที่สำคัญเป็นคนที่มาจากพื้นที่การเมืองที่มีอิสรภาพและเสรีภาพ ทั้งจากยุโรป แคนาดา และออสเตรเลีย ซะด้วย … ซึงเอาเข้าจริง ถ้าตามเรื่องการเคลื่อนไหวของขบวนการผู้หญิงสากล หรือขบนการแรงงานสากลที่เริ่มตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ก็จะเห็นว่าขบวนการสากลมันได้ขยายมาในเส้นทางเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นมันจึงฐานแห่งการเชื่อมความสัมพันธ์และการทำสมานฉันท์ทางการเมืองกันอยู่ก่อนแล้ว

4. คนไทยอาจจะรู้สึกว่าคนอเมริกาจะหนักหนาอะไรกับทรัมป์ แม้ว่าปากจะหมา ดูถูกผู้หญิง ดูถูกมุสลิม ดูถูกแรงงานต่างชาติ ก็ช่างปะไร ประยุทธ์นี่แย่กว่าทรัมป์หลายเท่านี่น่า ...

ซึ่งประเด็นว่าจะไปอินังขังขอบอะไรกับทรัมป์ ในเมื่อเรายังทนประยุทธ์ได้ ควรจะถูกย้อนศรมองกลับว่า ทำไมคนอเมริกาถึงไม่อาจปล่อยให้พฤติกรรมแบบทรัมป์ดำรงอยู่ได้โดยไม่อาจต่อต้าน ได้มากกว่าที่จะบอกว่า กูยังเงียบกับคนถ่อยๆ แบบประยุทธ์ได้ พวกคนขาวจะอะไรหนักหนากับทรัมป์นะครับ

5. ประเด็นที่ทั่วโลกร่วมขบวนไปกับขบวนการผู้หญิงที่อเมริกา ด้วยการออกมาเดินต้านทรัมป์ด้วยกันในวันสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ เพราะพวกเขาวิตกกังวลในท่าทีของทรัมป์ ที่ไม่สนใจนโยบายด้านการรับมือกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมอันเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รวดเร็วมาก และการจะสามารถเร่งรับมือกับผลกระทบอันเกิดจากภาวะ Global Warming ที่การสนับสนุนทางนโยบายอย่างจริงจังจากรัฐบาลอเมริกานั้นสำคัญยิ่ง เพราะจะส่งผมต่อการชักชวนประเทศต่างๆ ทั่วโลกในร่วมกันเตรียมรับมือวิกฤติกันตั้งแต่ตอนนี้ ซึ

และทั่วโลกยังไม่วางใจเรื่องนโยบายต่างประเทศของทรัมป์ ที่ยังไม่แน่นอน ดังนั้นจึงร่วมกันส่งเสียงถึงทรัมป์กับชาวอเมริกา ว่าพวกเขาในประเทศต่างๆ ก็มีตัวตนและก็เรียกร้องให้ทรัมป์ดำเนินทิศทางการเมืองที่อ่อนไหวต่อประเด็นระดับโลกด้วย

ผมสรุปนะครับว่า การหาเสียงทรัมป์VSฮิลลารี่ ดึงดูดความสนใจของคนทั่วโลกมากกว่าการหาเสียงเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา การชนะของทรัมป์ (ซึ่งผมก็ยังคิดว่าทรัมป์ชนะดีกว่าฮิลลารีชนะ) ความเป็นทรัมป์ จะได้เปิดให้อเมริกาได้ย้อนมองการเมืองในประเทศของตัวเอง และบทบาทการเมืองของอเมริกาในระดับโลก ได้ดีกว่าคนเล่นการเมืองเก่งแบบฮิลลรี่เข้ารับตำแหน่ง ซึ่งก็เป็นเช่นนั้น เพราะการย้อนมองอเมริกาและปัญหาของอเมริกา และความล่มสลายของการเมืองมหาอำนาจอเมริกา มันได้เร่ิมขึ้นแล้วในวันสาบานตนรับตำหน่งของทรัมป์

ซึ่งทรัมป์ยังโชคดีที่ถ้าเขามีความจริงใจ และไม่มีอีโก้ใหญ่เกินจะเปิดใจรับความคิดเห็นของคนได้ เขาก็อาจจะปรับวิธีการบริหารที่รอบด้าน และก็กลายเป็นประธานาธิบดีที่อยู่ครบเทอมได้อย่างสง่างามและได้รับการยกย่องสรรเสริญก็เป็นได้

มิดีหรอกหรือที่ผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง ถูกประชาชนท้วงติงและประกาศว่าจะติดตามการทำงานกันอย่างใกล้ชิด กันตั้งแต่วันแรกที่รับตำแหน่ง จะได้ไม่เหลิงในอำนาจจนลืมหัวประชาชน !!!

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขบวนการวูเมนมาร์ช ได้ที่ https://www.womensmarch.com

ที่มา FB


ooo

Women's March compilation from around the world



https://www.youtube.com/watch?v=7eM-ZgrYNWA

Published on Jan 21, 2017

A roll call sampling of the many cities around the globe that participated in the Women's March on Jan 21, 2017.

ooo

พูดว่าประชาธิปไตยใช้เวลานาน ฟังแล้วอาจใจหาย แต่ผมคิดว่ามันจะพัฒนาสู่คุณภาพใหม่ จึงต้องใช้เวลา

เอาข้อแรกก่อน ประท้วงทรัมป์เป็นสลิ่มไหม แหม ประท้วงเพื่อปกป้องคุณค่าของเสรีภาพ ความเท่าเทียม สิทธิมนุษยชน จะเป็นสลิ่มได้ไง แม้พวกต้านทรัมป์มีจุดอ่อนบ้าง เช่น ดูถูกคนเลือกทรัมป์ มโนว่ารัสเซียแฮ็ก หรือพาลจะให้คณะผู้เลือกตั้งโหวตสวน แต่ในเมื่อผู้ประท้วงไม่มีทหารมาช่วยยึดอำนาจ ไม่มีศาลมาช่วยถอดถอน เดี๋ยวก็จะไปสู่ครรลอง ซึ่งมองโลกแง่บวกหน่อย นี่คือการปลุกพลังเสรี ให้เติบโตมาเปลี่ยนสังคมอีกทีเหมือนยุค 1960 ที่ต่อต้านสงครามเวียดนาม เรียกร้องความเสมอภาค

ประวัติศาสตร์ก็วนแบบนี้ละครับแต่มันยกระดับ อ.สุรชาติ บำรุงสุข เขียนในมติชนสุดสัปดาห์ โลกเอียงขวา ต้องการผู้นำที่เข็มแข็งเด็ดขาด เพราะคนกลัวอนาคต จากความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ จากภัยก่อการร้าย จากการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานในยุคโลกาภิวัตน์ มันเกิดกระแสหวนกลับ แต่มันก็จะเกิดกระแสสิทธิเสรีภาพสู้กันอีกครั้งในคุณภาพใหม่

ทรัมป์ชนะจากการที่คนอเมริกันไม่พอใจระบบ สถาบันการเมือง ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติทุนนิยมที่ยืดเยื้อมานับสิบปี ปลุกกระแสอเมริกันมาก่อน แต่ทรัมป์ก็จะแก้ปัญหาแบบเศรษฐีรีพับลิกันสุดโต่ง ลดภาษี ออกพันธบัตร ซึ่งน่าจะแก้ได้แค่เฉพาะหน้า แต่วิกฤติทุนนิยมโลกจะยิ่งหนักหนา ปั่นป่วนผันผวน แน่ละ มนุษย์แสวงหาความมั่นคงปลอดภัยอันดับแรก แต่ก็จะอยู่ใต้ผู้นำเอียงขวาไม่นานหรอก เพราะนอกจากมีปัญหาเรื่องสิทธิเสมอภาคยังจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ไม่ตก มีแต่ทวีขึ้น


Atukkit Sawangsuk