วันพุธ, กรกฎาคม 12, 2560

‘เพื่อไทย’ รุกหนัก น้ำขึ้นรีบตักเป็นธรรมดา ช่วยไม่ได้ คสช. เตะขาตัวเองทั้งนั้น

อ๊ะ หมู่นี้ เพื่อไทย รุกหนัก น้ำขึ้นรีบตักเป็นธรรมดา ช่วยไม่ได้ คสช. เตะขาตัวเองทั้งนั้น

อย่างเช่นทั่นนายกฯ (ที่ตั้งตัวเองเข้ามา) บอกให้ปลูกมังคุด-ทุเรียน แทนสวนยางงี้ ใครกันแน่ “คิดแบบเต่าล้านปี” ไอ้การจะ “ตัดยางแล้วปลูกผลไม้อื่นบ้าง” มันไม่ง่ายอย่างปากขยับ ลงแรงตัดแต่ละต้นแล้วยังต้องขุดราก ปรับดิน

ถ้าจะตัดแค่สี่ซ้าห้าต้นเพื่อปลูกมังคุดทุเรียน มันไม่ได้มาทดแทนกันได้ ต้องรอกใหม่เป็นสิบๆ ไร่ ถ้าอยากให้ทำจริงไหง คสช. ไม่ส่งทหารลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านตัดไม้รอกดินให้เป็นเรื่องราวโครงการหลักไปเลยล่ะ

แล้วการเปลี่ยนไปปลูกมังคุด-ทุเรียนใช่ว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างปากว่า ถ้าไม่ดูข้อเท็จจริงว่าตลาดมังคุด-ทุเรียนไม่ได้มากเท่ายาง ปลูกแล้วไม่รู้ว่าจะทำให้ซัพพลายล้นเป้นปัญหาให้เกษตรกรเจ๊งกันระนาวอีก

ทั้งมังคุดทุเรียนเป็นผลไม้มีคุณค่าก็จริงอยู่ หากจะต้องมีการตลาดต่างประเทศควบคู่กับการปลุกทดแทนยางด้วย รัฐบาลประยุทธ์คิดเรื่องนี้ไว้แล้วยัง (อีกที) ถ้าจะทำจริงมีเวลาตามที่ควรอยู่อีกปีกว่า ถ้าทำให้สำเร็จบางทีชาวไร่พอใจไปหย่อนบัตรให้พรรคทหารก็ได้นะ

เพราะตลาดทุเรียนในประเทศเองเดี๋ยวนี้ก็กำลังล้นเหมือนกัน เพราะทุกจังหวัดปลูกทุเรียนเลยแย่งกันขาย มังคุดยิ่งแล้วใหญ่ ชาวสวนมังคุดเพิ่งออกมาร้องโร่ให้ประยุทธ์ช่วยปั่นราคาอยู่มิใช่รึ

ลองดูที่ผู้ใช้นาม Thuethan Prasobchoke เขียนไว้บนหน้าเฟชบุ๊คของเขาหน่อยปะไร

ตอนเช้าท่านผู้นำบอกให้ชาวสวนยางพาราไปปลูกมังคุด ตอนบ่ายมีข่าวชาวสวนมังคุดเตรียมมาประท้วง เพราะมังคุดราคาตกเหลือกิโลละ บาท จากเดิมที่เคยราคาหน้าสวน ๕๐ -๖๐ บาท

สองเหตุการณ์นี้เป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า ผู้นำประเทศในตอนนี้ไม่ได้มีข้อมูล ไม่ได้รู้สี่รู้แปดอะไรเลย พูดปัดปัญหาพอให้พ้นปาก เหมือนถ่มน้ำลาย ไม่มีองค์ความรู้ที่รอบด้านในการบริหารประเทศ ไม่มีความฉลาดในข้อมูล

ท่านผู้นำจะรู้ไหมว่า การปลูกมังคุด มันไม่เหมือนเพาะถั่วงอก

ผู้บริหารแบบนี้ใช่ไหมที่เสียงคุณภาพเขาต้องการ หากยอมรับคุณภาพนายกแบบนี้ได้ ทีหลังอย่าไปตำหนินายกคนอื่นที่ประชาชนเลือกมานะ คงไม่มีพรรคการเมืองไหนที่จะหานายกที่ห่วยขนาดนี้มาให้เลือกได้

นี่รองนายกก็ออกมาบอกแล้วว่า เขาไม่ได้อยากปฏิวัติรัฐประหาร แต่ที่ทำเพราะเรียกเขามาเอง ห่วยอย่างไรก็ว่าเขาไม่ได้

คนที่เคยเป่านกหวีดเรียกเขามา นอนตื่นพรุ่งนี้เช้า ก็ลองลูบๆ หัวตัวเองดูว่ามีปุ่มสองปุ่มเริ่มงอกขึ้นมาบนหัวหรือยัง

ส่วนเรื่องราคายางตกต่ำที่ทั่นนายกฯ พูดตามข่าวผู้ว่าการยางรายงานผลการประชุมร่วม ๓ ประเทศ ไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ว่า “ที่ประชุมเห็นว่าการทำให้ราคายางสูงขึ้นนั้นทำได้ยาก เป็นผลจากปริมาณยางของไทยมีมากเกินไป...

และอีกปัญหาหนึ่งคือการที่ ๓ ประเทศมองว่าเสถียรภาพทางการเมืองมีผลต่อราคายางพารา โดยเฉพาะกับตลาดการซื้อขายล่วงหน้า จึงขออย่าให้มีการเคลื่อนไหวกดดันในขณะนี้”


นั่นไม่ทันไร นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่า กยท. ออกมาแก้ตัวน้ำขุ่นๆ แล้วว่า “ที่ประชุมทั้ง ฝ่ายไม่ได้พูดตรงๆ ว่าไทยเป็นผู้ทำลายราคายางพาราในตลาดโลก รวมถึงยางพาราในไทยเป็นเรื่องการเมือง ถ้าการเมืองไม่มีเสถียรภาพราคายางพาราก็ปั่นป่วน


นี่ไงที่เขาว่า “เหมือนถ่มน้ำลาย ไม่มีองค์ความรู้รอบด้าน” ใช่เลย สิ่งที่นักการเมืองพรรคเพื่อไทยออกมาตั้งท่าสัพพี เตรียมตะปูไว้ตอกฝาโลงกัน มันก็เลยเริ่มเห็นจริง

วันก่อนอดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ยรรยง พวงราช พูดถึงดัชนีผู้บริโภคติดลบต่อกัน ๑๕ เดือน ผลิตผลเกษตรราคาตก เอสเอ็มอีเจ๊ง ซ้ำด้วยปัญหาแรงงานต่างด้าว เป็นเพราะ “รัฐบาล คสช. บริหารเศรษฐกิจผิดพลาด” นี่มองเห็นภาพชัดแจ๋วเลย จะแก้ตัวอย่างไรก้ไม่หลุด

วันนี้อดีตรัฐมนตรีพลังงานออกมาพูดอีก “หลังจากการปฏิวัติแล้วการช่วยเหลือเกษตรกรได้ลดลงอย่างมาก” นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เล่าถึงตอนที่ถูกเรียกไปเข้าค่ายครั้งล่าสุด (ครั้งที่ ๘ มั้ง) “คนรวยกลับยิ่งรวยเพิ่มขึ้นแต่คนจนกลับยิ่งจนลง ทั้งๆ ที่รัฐบาลได้ใช้เงินจำนวนมากในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยแต่กลับไม่ได้ผล

เขาได้ช่องเลยไปถึงประเด็น ‘witch hunt’ ล่าแม่มดทางการเมืองเล็กน้อย 

รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจเคยพูดว่าได้ใช้เงินช่วยผู้มีรายได้น้อยไปแล้วกว่า แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าโครงการจำนำข้าวมาก แต่ประชาชนกลับไม่ได้รู้สึกว่ามีความเป็นอยู่ดีขึ้น
การใช้เงินจำนวนมากแต่ไม่ได้ผลเท่ากับสร้างความเสียหายให้กับประเทศหรือไม่ และอยากทราบว่าโครงการของรัฐ โครงการใดที่กำไรบ้าง

และหากบอกว่านายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบกับโครงการรัฐบาลที่ไม่กำไร ก็ต้องเอานายกรัฐมนตรีทุกคนย้อนหลังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาดูว่าทำโครงการใดแล้วไม่กำไรบ้าง ซึ่งน่าจะต้องเอาผิดกันเยอะเลย


สะใจโก๋แก่สินะเธอว์