วันเสาร์, ธันวาคม 02, 2560

มองอีกมุม... บุคคลสาธารณะ "สุรินทร์ พิศสุวรรณ"





ผมไม่ได้รู้สึกบวกหรือลบกับ สุรินทร์ พิศสุวรรณ อะไรมากมาย. ถ้าจะมีก็คงติดลบนิดๆ ไม่มาก (เดี๋ยวจะอธิบายข้างล่างว่าทำไม). พอได้ยินข่าวเขาเสียชีวิต ผมก็รู้สึกสงสารครอบครัวเขา เหมือนกับที่ผมรู้สึกเวลาได้ยินข่าวคนในตำบลตาย ไม่ได้เสียใจหรือเสียดายอะไรมากมาย.

แต่พออ่านข่าววันนี้แล้ว รู้สึกว่าคนอวยสุรินทร์กันเว่อร์เหลือเกิน. ทูตอเมริกา Glyn T. Davies บอกว่าสุรินทร์เป็น “ปูชนียบุคคล” และ “รัฐบุรุษ”. บีบีซีไทย - BBC Thai ก็ลงบทความอวย แบบที่เจิ่งไปด้วยคำชื่นชม ไร้คำติวิจารณ์ใดๆ. (http://www.bbc.com/thai/thailand-42179223) มีโควตคำพูดลูกชายสุรินทร์ที่อวยพ่อตัวเองว่าเป็น “a true believer in democracy” ด้วย. ที่ตลกที่สุดคือ พอมีผู้อ่านมาคอมเม้นต์วิจารณ์สุรินทร์ BBC Thai ยังลงมาคอมเม้นต์ดีเฟนด์ให้อีกแน่ะ (ดูที่นี่: https://www.facebook.com/BBCThai/videos/2016513861902977/…).

สำหรับผม สุรินทร์เป็นนักการเมืองที่ห่วงภาพลักษณ์ตัวเองมาก กลัวเปลืองตัว ไม่เคยออกมาแสดงทัศนะสนับสนุนข้างไหนในความขัดแย้งทางการเมือง เว้นแต่จะมั่นใจว่าฝ่ายหนึ่ง “กระแสมา” จริงๆ จนออกมาเชียร์ได้ไม่เจ็บตัว (อย่างเช่นตอนกระแส กปปส. พีคๆ). เขาฟูมฟักความเป็น candidate ของตัวเองมาตลอดชีวิต และไม่เคยแสดงอะไรให้เราเห็นเลยว่าเขามีอุดมการณ์.

ตอนผมเป็นนักข่าว ผมได้ฟังปาฐกถาจากเขาอยู่ไม่กี่ครั้ง แต่ทุกครั้งผมรู้สึกว่าเขากลวงเหลือเกิน. ทุกครั้งเขาใช้คำพูดสวยหรู เน้นจังหวะจะโคนในการออกเสียง เพื่อให้คนฟังรู้สึกว่ามีแก่นสาร ลึกซึ้ง ทั้งๆ ที่เนื้อหากลวงโบ๋ ตื้น ไร้ซึ่งข้อเสนออะไรที่จับต้องได้.

สิ่งหนึ่งที่สุรินทร์ชอบทำตลอดเวลาตอนปาฐกถาคือ เขาชอบ “ผัดคำ” — ภาษาอังกฤษเรียก thesaurise — คือเอาคำที่มีความหมายเดียวกันหลายๆ คำมาวางต่อกัน เพื่อให้ประโยคเขาฟังดูลึกซึ้ง (ลึกซึ้งจนต้องใช้หลายคำมาขยายความ) ทั้งๆ ที่เนื้อหาสาระไม่มีอะไรเลย.

ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งเขาพูดว่า “Asean will need to aid, to help, to assist, immigrants” และหลังจากการเปิดเสรี AEC “a lot of things will happen, will occur” และ “there will be a lot of events, a lot of occurrences”. (เราได้รู้อะไรใหม่บ้างจากประโยคเหล่านี้?) ในอีกโอกาสหนึ่ง เขาถามคำถามเชิงวาทศิลป์ว่า “How much control, how much power, how much influence, can people have in the reinvention, in the resuscitation, of those societies, of those countries, of those states?” (คำพูดนี้เป๊ะๆ เพราะผมจดไว้รายงานข่าว.)

สุดท้าย ผมคิดว่าสุรินทร์หวังเป็นใหญ่ด้วยคอนเน็คชั่น โดยเฉพาะคอนเน็คชั่นกับอำมาตย์. เขาพยายามผลักดันผลประโยชน์ของอำมาตย์ โดยหวังว่าเมื่อจังหวะเหมาะสม สายสัมพันธ์กับอำมาตย์จะช่วยให้เขาได้เป็นใหญ่ แบบไม่ต้องลงแรงเพื่อชนะใจมหาชน.

เมื่อ 3 ปีที่แล้วหนังสือพิมพ์ The Harvard Crimson มีบทความแฉว่า มีกลุ่มบุคคลในวง “conservative elite” ที่สนับสนุนรัฐประหารในไทย พยายามระดมทุนบริจาคให้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อให้ตั้งหลักสูตรไทยศึกษา โดยกำหนดให้หลักสูตรมีเป้าหมาย “สนับสนุนสถาบันกษัตริย์และผลประโยชน์ของชาติไทย”. (http://www.thecrimson.com/…/2014/8/18/harvard-thai-troubles/) หัวแรงหลักในการล้อบบี้คือ สุรเกียรติ เสถียรไทย และ สุรินทร์ พิศสุวรรณ. บทความบอกว่าสุรินทร์ติดต่อให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นหนึ่งในสปอนเซอร์ของหลักสูตรด้วย.

ทั้งหมดนี้ผมไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องลบอะไรมากมายนะครับ. มีบุคคลสาธารณะในไทยทำสิ่งเหล่านี้กันเยอะแยะ. แต่นั่นคือภาพที่ผมเห็นสุรินทร์ — คือนักการเมืองที่อยากเป็นใหญ่ แต่กลัวเปลืองตัว เน้นภาพลักษณ์มากกว่าแก่นสาร และพยายามเป็นใหญ่ด้วยคอนเน็คชั่นในแวดวงอำมาตย์. ผมไม่มองเขาว่าเป็น “ปูชนียบุคคล” หรือ “รัฐบุรุษ”.


Prach Panchakunathorn


ooo





I’m sick of all this fake respect for old men who never did anything for fairness or freedom of speech or human rights or democracy in Thailand.

Everybody was so respectful of Samak Sundaravej when he died, and now everybody is rushing to say how great Surin Pitsuwan was.

What did they do for Thai democracy? Nothing.

Dinosaurs like Chuan Leekpai and Anand Panyarachun will be lauded as heroes too, when they die, but actually they are frauds who never helped Thailand at all.

I would rather put my faith in a younger generation of real heroes. Sirikan June Charoensiri, Jatupat Boonpattararaksa, Rangsiman Rome, Sirawith Seritiwat, Apple Kritsuda Kunasean, Netiwit Chotiphatphaisal, the brave lawyers of Nitirat, and many more young Thais who are fighting so bravely to make their country better. Plus older people who really care, and made genuine sacrifices for Thailand:Somsak Jeamteerasakul, Junya Yimprasert, Jaran Ditapichai, Pavin Chachavalpongpun, Chaturon Chaisang, for example.

Condolences for Surin, but he was the past not the future, and he failed to stand up for Thai democracy when it counted.

It’s embarrassing to see all the foreign journalists who have been wrong about Thailand and Myanmar for so many decades rushing to praise him. They still didn’t learn.

Here is my obituary of Surin: he was a superficially nice man who made the indefensible decision to ally with notorious crook Suthep Thaugsuban to subvert Thai democracy. He should have known better. Shame on him. When Thailand needed principled people to stand up for democracy, he failed to do it. Rest in peace and goodbye.


Andrew MacGregor Marshall