วันอาทิตย์, ธันวาคม 03, 2560

ทวงคืนผืนป่า แต่ตามหาถ่านหิน





ผมสรุปให้นะ หลังฟังความในใจของคนเอาถ่านหินชัดๆเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา .. นายกรัฐมนตรีไทย ที่ชื่อ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ..
คนนี้ คือ คนๆเดียวกับคนที่ไปเซ็นต์ข้อตกลง COP21 สัญญากับประชาคมโลกว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ..

(ฟังถ้อยแถลงแสดงวิสัยทัศน์ ‘พล.อ.ประยุทธ์’ นายกไทย ในเวที COP21

ไทยเผยแผนมุ่งใช้พลังงานทดแทน – พร้อมเชื่อม G77 แก้โลกร้อน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

https://unfccc6.meta-fusion.com/.../his-excellency-mr...)



Quote ช่วงสำคัญ ที่นายกฯพูดออกมา แบบมีธงในใจ !

"สำหรับเรื่องโรงไฟฟ้าภาคใต้ วันนี้ก็เป็นประเด็นสำคัญประเด็นร้อน ผมได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไปดำเนินการให้ได้ข้อยุติ โดยปราศจากความขัดแย้ง ขณะนี้ก็มีปัญหาอยู่ในช่วงที่ผ่านมา รัฐมนตรีเดิมไม่ได้ไปกำหนดว่าจะต้องสร้าง หรือไม่ต้องสร้าง อะไรทำนองนี้ เพราะอยู่ในขั้นตอนทั้งหมด คราวนี้บางทีสื่อก็ไม่ทราบ ประชาชนก็ไม่รู้อีก หรือบางทีก็ไม่สนใจ สนใจแต่เพียงว่าจะสร้าง หรือไม่สร้าง จริงๆมันมีขั้นตอนทั้งหมด ที่ผ่านมาขั้นตอนต่างๆ ก็ผ่านมาแล้ว เมื่อทำไม่ได้ รัฐบาลผมเองก็ได้สั่งการลงไปให้ทบทวน ว่าถ้าทำได้มันก็จะดีกว่าทำไม่ได้มั้ย ทำได้ที่ว่า ก็จะขัดแย้งกันมั้ย ฉะนั้นประชาชนต้องฟังบ้าง ไม่ใช่จะดึงดันแตกเป็นสองฝ่าย รัฐบาลไม่อยากจะดึงดันกับใครทั้งสิ้น เพราะต้องคำนึงถึงต้นทุนในการก่อสร้างพื้นที่ในการก่อสร้าง และความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า หลายคนบอกว่า ค่าไฟฟ้ามันแพง อยากให้ค่าไฟฟ้าลดลง ลดลงไม่ได้ถ้าการผลิตต่างๆ ไฟฟ้าจากพลังงานหลัก มาจากส่วนกลาง หรือในภาคอื่นๆ แล้วส่งไปในพื้นที่ห่างไกล บวกต้นทุนในการทำสายส่งไปด้วย
ฉะนั้น 1.ต้นทุนจะเกิดจากแหล่งที่ก่อให้เกิดพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นแก๊ส น้ำมัน ถ่านหิน ลิกไนต์ วันนี้มีเทคโนโลยีมากมาย ที่จะแก้ปัญหาเดิมๆได้ 2.เทคนิคในการก่อสร้างโรงงาน เครื่องไม้เครื่องมือก็แพงขึ้น 3.สายส่ง ซึ่งเหล่านี้ทำให้บวกเข้าไปในค่าต้นทุน ถ้าสมมติไปสร้างในพื้นที่ห่างไกลได้ ก็จะลดการลงทุนในส่วนนี้ ไม่ต้องไปลากมาจากไกลๆ ถ้ามีปัญหาอีกก็ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความมั่นคงพลังงาน เกิดไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ จะทำยังไง

สำหรับอีกเรื่อง ไปซื้อจากบริษัทต่างประเทศ วันนี้ก็ซื้อได้ แต่ถ้าวันหน้าเขาขายน้อยลง หรือเขาตั้งราคาให้สูงขึ้น เราจะทำอย่างไร เราจะมีคำตอบมั้ย ว่าเราจะดูแลประชาชนเราได้อย่างไร ก็อยากให้เข้าถึงทุกมิติ เหล่านี้คือต้นทุนการไฟฟ้าทั้งสิ้น ค่าไฟฟ้าทั้งหมดนี้ ทั้งต้นทุนการผลิต ราคา การดำเนินงาน การบริหารจัดการทั้งหมด รวมอยู่ในค่าไฟฟ้าทั้งหมด ฉะนั้นถ้ารวมกันแล้ว ถ้าสิ่งเหล่านี้สูงเกินไป มากเกินไป อะไรที่ควรประหยัดไม่ได้ประหยัด เทคโนโลยีใหม่ก็มี แล้วไม่ใช้ หรือใช้ไม่ได้ เหล่านี้เป็นปัญหาในอนาคต ฝากให้ทุกคนช่วยกันคิดด้วย ผมก็ไม่ได้บอกว่ามันต้องอย่างนี้ เพียงแต่เสนอแนวทาง เสนอหนทางปฏิบัติ กระทรวงพลังงาน เขามีหน้าที่หาไฟฟ้า หาพลังงาน มีกฎหมายของเขาด้วย ทุกคนต้องฟังเหตุฟังผลซึ่งกันและกัน....

เรื่องโรงไฟฟ้าก็มีหลายประเด็นที่สงสัยกันอยู่ อันนี้ผมไม่ได้พูดว่าจะสร้างหรือไม่สร้างได้ตอนนี้ แต่ปัญหาที่สงสัยอยู่ ก็มี 1.การย้ายวัดย้ายโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนมูลนิธิอิตีซอมวิทยา ก็มีการหารือในพื้นที่ไปแล้ว ว่าจะมีการย้ายไปพื้นที่แห่งใหม่ จะห่างจากพื้นที่ดั้งเดิมไม่เกิน 5 กิโลเมตร
อันที่ 2 คือเรื่องการโยกย้ายประชาชน วันนี้ก็ยังไม่ได้เกิดอะไรขึ้นสักอย่างเลย เพราะเขายังไม่ได้ทำ ยังไม่ได้เริ่ม ถ้าหากมันผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และเข้า ครม.แล้ว มันถึงจะเริ่มต้น ถึงจะไปดูเรื่องการเยียวยา การดูแลที่อยู่อาศัย หรือค่าเยียวยาอะไรต่างๆ ให้เหมาะสม วันนี้ยังอยู่ในขั้นการศึกษา EIA - EHIA อยู่เลย ยังไม่ผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพราะฉะนั้นก็ต้องไปหามติให้ได้เสียก่อน แต่สิ่งสำคัญก็คือเวลามันไม่คอยท่า เพราะฉะนั้นต้องเอาให้แน่ว่าจะสร้างหรือไม่สร้าง ไม่สร้างแล้วจะเอาที่ไหน ไฟฟ้าจะมายังไง ต้นทุนค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นทั้งประเทศหรือเปล่า ช่วยกันดูด้วยนะครับ

เรื่องที่ 3 ที่เขาสงสัยเรื่องสิ่งปลูกสร้างทางทะเล จะไปกีดขวางการไหลของน้ำ ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งหรือไม่ วันนี้ก็ได้มีการพูดคุยล่วงหน้าไปแล้วในพื้นที่ ส่วนที่เขาฟังเขาก็เข้าใจ ส่วนที่ไม่ฟังอะไรเลย ก็ไม่เข้าใจ ก็กลายเป็นว่ารัฐบาลไม่ได้ทำอะไร ไปทุบเขา อะไรทำนองนี้ ไม่ฟังความคิดเห็น เขาก็ฟัง คนส่วนใหญ่ก็ฟัง คนส่วนน้อยถ้าไม่ฟังก็คือไม่ได้ฟัง เพราะฉะนั้น ได้มีการกำหนดมาตรการไว้ชัดเจน ได้มีการทำเขื่อนป้องกัน จึงไม่มีผลกระทบกับการสัญจรทางเรือ อาชีพประมง และการกัดเซาะชายฝั่ง การก่อสร้างก็มีผลกระทบอยู่บ้างในช่วงแรก พอสร้างเสร็จแล้ว ปลา สัตว์น้ำ ก็กลับเข้ามาอยู่ใหม่เหมือนเดิม อันนี้ไปดูด้วยนะครับ มันไม่ใช่ขายไปหมด มันเป็นไปได้นะ ข้อเท็จจริง

เรื่องที่ 4 เรื่องการใช้ถ่านหินคุณภาพดี ที่เราเรียกว่าประเภทบิทูมินัส และซับ-บิทูมินัส เราจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วยเรือบรรทุกแบบปิด ที่เรียกว่าระบบปิด คลุมทุกอย่าง แล้วก็จะไม่มีการใช้ถ่านหินจากแหล่งภายในประเทศที่มีการกล่าวอ้างกัน บอกว่ามีถ่านหินลิกไนต์อยู่ในประเทศ รัฐบาลต้องการลงทุนตรงนี้เพื่อที่จะไปขุดถ่านหินลิกไนต์เอามาใช้เอื้อประโยชน์กับนายทุนอีก มันคนละเรื่องกันหมด แบบนี้ข้อมูลไม่ตรงกันเลย เราก็ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด เท่าที่ผมศึกษาดู ของโรงงาน เทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดซึ่งแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างง่ายๆ ในเรื่องของการใช้ถ่านหินลิกไนต์ เราต้องใช้ถ่านหินลิกไนต์ที่มีคุณภาพสูง สร้างมลภาวะน้อย แล้วก็มีเครื่องมือขจัดมลพิษต่างๆ

ก็ลองดูสมัยก่อนนี้ที่มีปัญหาอยู่ที่แม่เมาะ วันนี้เขาก็เปลี่ยนเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ผมก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร คนก็อยู่ได้ ปลา สัตว์ต่างๆ ผล ต้นไม้อะไร ก็อยู่ได้เป็นปกติ เพราะฉะนั้นก็ต้องดูตรงนี้ด้วย เทคโนโลยีต่างๆ มันก้าวไกลไปแล้ว ก็ฝากกราบเรียนพี่น้องต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายมา ให้เข้าใจตรงนี้ด้วยนะครับ ไปดูอีกทีนะ ฝากด้วยเถอะ ถ้ายังไงจะไปดูเพิ่มที่แม่เมาะก็ได้ แล้วข้อสำคัญก็คือ การใช้น้ำในทะเลเป็นน้ำหล่อเย็น ก็จะมีระบบการกำจัดการสะสมของโลหะหนักที่ทุกคนเป็นห่วง มีการควบคุมการปรับคุณภาพน้ำก่อนที่จะระบายลงสู่ทะเลธรรมชาติให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ประเภทที่ 1 ก็คือ ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล โดยเราก็ใช้สัตว์น้ำ อาทิ หอยแครง หอยแมลงภู่ ซึ่งก็เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ ณ จุดปล่อยน้ำ อันนี้ท่านก็ไปช่วยดูแล้วกัน มีตาย มีอะไรหรือเปล่า อันนี้เป็นหลักการทางเทคนิคนะครับ ขอให้เชื่อมั่นว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องการควบคุมด้วยเทคโนโลยีที่ศึกษามา

ผมก็ขออนุญาตนำเฉพาะประเด็นที่สงสัยมานำเสนอ ให้ทุกคนได้พิจารณาร่วมกัน ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงพลังงาน และผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ต้องมีข้อมูลที่พร้อมตอบ สร้างความเข้าใจ ฝากพี่น้องประชาชนที่เห็นด้วย และช่วยกรุณาทำความเข้าใจกับผู้ที่ไม่เห็นด้วย อย่าให้รัฐบาลต้องไปตัดสินเลย มันก็จะเป็นปัญหากระทบกระทั่งกันกับเจ้าหน้าที่ กับประชาชนอีก แล้วเราก็จะถูกจับตามองอย่างที่ท่านกล่าวอ้าง มีใครอยากจะทำ รัฐบาลนี้ไม่อยากทำ แต่ถ้าไม่ทำ แล้วมันเกิดขึ้นต่อไป ขยายต่อไปหลายกลุ่มหลายฝ่าย แล้วจะอยู่กันได้ไหม มันก็อยู่ไม่ได้อีก ฉะนั้นต้องแก้ด้วยเรากันเอง ก็คือ ข้าราชการ ประชาชน ภาคเอกชน ก็ต้องร่วมมือ พูดคุยหารือกัน เพราะเราต้องพัฒนาไปสู่การมีแหล่งพลังงานที่เหมาะสม เพียงพอ เพื่ออนาคต เพราะเราจะลงทุนต่างๆ มากมาย ถ้าไฟฟ้ามันไม่พอเสียอย่าง ไม่มั่นคงเสียอย่าง ติดๆ ดับๆ หรือไฟฟ้าตก นั่นล่ะอันตรายต่อไป หรือไม่มีการส่งพลังงานท่อแก๊สมาจากต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านไม่มีการขายไฟฟ้าต่อไป เพราะเขาก็เอาไปใช้ในประเทศของเขา เราจะทำอย่างไร คิดอนาคตไว้ด้วย"

#ทวงคืนผืนป่า_แต่ตามหาถ่านหิน
#ThailandOnly

ที่มา FB


Somnuck Jongmeewasin

ooo

ถ้าไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินราคาค่าไฟจะแพง มันเป็นเรื่องโกหก

Ekkapob Ekwuttiphan 🤖 ไฟฟ้าภาคใต้มันล้นระบบอยู่แล้วจะสร้างทำไม มันไม่มีความจำเป็น แล้วบอกว่าถ้าไม่ให้สร้างราคาค่าไฟจะแพง มันเป็นเรื่องโกหก ยิ่งสร้างต่างหากจะยิ่งแพงเพราะต้องบวกค่าสร้างโรงงาน ค่าถ่านหินที่ต้องใช้เงินซื้อทำให้ต้นทุนแพงขึ้น

ถ้าไม่สร้าง ไฟฟ้าที่ล้นระบบจะค่อยๆปรับสมดุลย์กันทำให้เฉลี่ยค่าไฟฟ้าถูกลง

นายกพูดแบบนี้ ถ้าไม่ให้สร้างราคาค่าไฟจะแพง ใช้ส่วนไหนของร่างกายคิดกันนะ

ทุกวันนี้ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้อยู่ที่2200 MW สูงสุดที่2800MW แต่ความสามารถผลิตได้ 3500 MW มันเกินอยู่ตั้งเยอะ

นายกอย่ามาอ้างดีกว่าว่าไฟฟ้าที่ส่งมาจากภาคกลางแล้วทำให้มีค่าใช้จ่ายแพงมันไม่จริง ลาวยังส่งไปขายมาเลเซียโดยผ่านไทยไปได้เลย

ณัชชา แซ่ลิ้ม

ooo

ไกรสร เชาวนระบิน ถ้อยแถลงแสดงวิสัยทัศน์ ‘พล.อ.ประยุทธ์’ นายกไทย ในเวที COP21

ไทยเผยแผนมุ่งใช้พลังงานทดแทน – พร้อมเชื่อม G77 แก้โลกร้อน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

https://unfccc6.meta-fusion.com/.../his-excellency-mr...